วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

นาฬืกา

วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

rr

วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ใบงานที่5

การศึกษาโปรแกรม SPSS For Windows


สถิตินับเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่องานวิจัย
การคำนวณตัวเลขมากๆที่ต้องการความเที่ยงตรงและรวดเร็วด้วยมือหรือ
เครื่องคิดเลขธรรมดาแทบเป็นไปไม่ได้ การนำคอมพิวเตอร์และโปรแกรมเข้ามาใช้
จึงมีความจำเป็นเทียบได้กับความจำเป็นที่ต้องใช้สถิติในการวิจัย
ในปัจจุบันมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์อยู่เป็นจำนวนมาก แต่ที่นิยมใช้มีอยูุ่่เพียง สอง สามโปรแกรม
SPSS นับเป็นหนึ่งในจำนวนนั้น

SPSS เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติและงานวิจัย ที่มีประวัติการพัฒนามานานหลายสิบปี
มีสถิติให้เลือกใช้หลายประเภท ดังนั้นจึงเป็นที่นิยมของผู้ใช้ทั่วไป
แต่การนำ spss มาใช้โดยที่ผู้ใช้มิได้เริ่มต้นอย่างถูกวิธีย่อมจะทำให้ดูแลยาก
ดังนั้นเวปไซด์นี้จึงเอาความรู้พื็นฐานที่จำเป็นสำหรับการใช้ SPSS มานำเสนอ

ในปัจจุบันมีผู้ใช้โปรแกรม MicroSoft WINDOWS เพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันโปรแกรม
ที่เคยพัฒนาบนระบบคอมพิวเตอร์อื่นๆ ก็หันมาผลิต ซอฟต์แวร์ของตนให้ใช้กับ WINDOWS ได้
บริษัท SPSS Inc. ก็เป็นอีกบริษัทหนึ่งที่ผลิต SPSS FOR WINDOWS ที่สามารถนำเอาจุดเด่นของ
WINDOWS มาใช้ร่วมกับ SPSS ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในขณะที่ยังสามารถรักษาแนวทางการใช้ spss ตามรูปแบบเดิมได้อีกด้วย

ประวัติของ SPSS
SPSS ย่อมาจาก Statistical Package for the Social Sciences เป็นโปรแกรมที่เขียน
ขึ้นมา ตั้งแต่สมัยคอมพิวเตอร์ส่วนบุคลยังไม่มี ดังนั้นลักษณะการทำงานในรุ่นแรกๆ
จะยืนอยู่บนรากฐานของการทำงานแบบดั้งเดิม กล่าวคือ ผู้ใช้จะต้องพิมพ์คำสั่งลงใน
บัตรเจาะรูแล้วส่งให้ผู้คุมเครื่องเป็นคนจัดการทำงานต่อ แต่เมื่อมีกาพัํฒนาเครื่องไมโคร
คอมพิวเตอร์ขึ้น SPSS ก็ได้พัฒนาโปรแกรมสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์โดยออก
SPSS รุ่น pc ที่เรียกว่า SPSS/PC+ และเนื่องจากไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นแรกๆ นิยม
ใช้ระบบปฏิบัติการ MS-DOS ซึ่งยังมีลักษณะการทำงานคล้ายกับเครื่องคอมพิวเตอร์
ขนาดใหญ่ (Mainframe) เพียงแต่ในส่วนคำสั่ง spss ที่เขียนเสร็จแทนที่จะใช้บัตร
เจาะรูแล้วส่งให้ผู้คุมเครื่องเป็นคนสั่งงานต่อ ผู้ใช้จำเป็นจะต้องพิมพ์ข้อมูลลงในแผ่น
ข้อมูลแทนการใช้บัตรเจาะรูและแทนที่จะส่งให้ผู้คุมเครื่องเป็นคนช่วยทำต่อ ผู้ใช้จะต้อง
ทำเองทั้งหมด

ในปัจจุบันระบบปฏิบัติการมีแนวโน้มที่เปลี่ยนไปจาก MS-DOS เป็น WINDOWS
ด้วยเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้ว ดังนั้น spss จึงได้พัฒนาโปรแกรม SPSS ภายใต้
WINDOWS ที่เรียกว่า SPSS FOR WINDOWS ขึ้น และเนื่องจากลักษณะการทำงาน
บน MS-DOS และ WINDOWS มีแนวความคิดที่ต่างกัน กล่าวคือกสรทำงานบน MS-DOS
จะยืนอยู่บนรากฐานของตัวอักษรและการทำงานของซอฟต์แวร์จะไม่มีการแลกข้อมูลระหว่างกัน
(ถ้าจะมีการแลกข้อมูลระหว่างกันก็ทำได้ยาก) แต่สำหรับ WINDOWS แล้ว
จะทำงานอยู่บนรากฐานของกราฟฟิกส์ และมีการแลกข้อมูลข้อมูลระหว่างซอฟต์แวร์
ต่างชนิดที่ทำงานอญุ่ภายใต้ WINDOWS

เมื่อ WINDOWS มีจุดเด่นที่ต่างกันออกไปจาก MS-DOS ดังนั้น SPSS ที่พัฒนาบน
WINDOWS จึงมีลักษณะเด่นที่ต่า่งจาก SPSS/PC+ ก็คือ ใช้กราฟฟิกที่ดีขึ้น
มีการทำงานระหว่างซอฟต์แวต์ที่อยู่บน WINDOWS คำสั่งที่ใช้ง่ายขึ้นแต่ให้รายละเอียด
มากขึ้นกว่าเดิม
สนใจ ดูที่http://student.nu.ac.th/piya_tada/index.html

ใบงานที่ 13


การใช้โปรแกรม SPSS
1. ขั้นตอนการเรียกใช้โปรแกรม
คลิก Start -> All Programs -> SPSS for Windows -> SPSS 11.5 for Windows
หรือ Double Click ไอคอนบนหน้าจอ Windows
2. ส่วนประกอบหลักของ SPSS FOR WINDOWS
เมื่อเปิดโปรแกรมจะได้หน้าต่างที่มีส่วนประกอบดังต่อไปนี้
-Title Bar บอกชื่อไฟล์ เช่น Untitled-SPSS Data Editor (หากเปิดครั้งแรก)
-Menu Bar คำสั่งการทำงาน
-Cell Editor กำหนดค่าตัวแปร
-Cases ชุดของตัวแปร
-Variable กำหนดชื่อตัวแปร
-View Bar มีสองส่วน ได้แก่ Variable View (สร้างและแก้ไขโครงสร้า้งตัวแปร) และ Data View (เพิ่มและแก้ไขตัวแปร)
-Status Bar แสดงสถานการณ์ทำงาน
3. การป้อนข้อมูลจากหน้าจอData Editor
3.1 เปิด SPSS Data Editor โดยไปที่ File -> New -> Data
3.2 กำหนดชื่อและรายละเอียด จากหน้าจอ Variable View
3.3 ป้ิอนข้อมูล Data View
3.4 บันทึกข้อมูล File -> Save
4. การกำหนดชื่อและรายละเอียดของตัวแปรจากหน้าจอ Variable View

ที่หน้าจอ SPSS Data Editor เรียกหน้าจอ Variable View ทำได้ 2 วิธี คือ 1. ดับเบิลคลิกตรงคอลัมน์ของบรรทัดแรก 2. คลิกแถบ Variable View ที่อยู่ด้านล่าง เมื่อได้หน้าต่างของ Variable View แล้วจะเจอ
4.1. Name ชื่อตัวแปร ให้พิมพ์ตรงคอลัมน์ Name เช่น Sex , Age, หรือจะพิมพ์เป็นภาษาไทยก็ได้ตามตัวแปรที่มีอยู่
4.2. Type ประเภทของตัวแปร เลือก Numeric Width =1 Decimal Places=0 คลิกปุ่ม OK
4.3. Label กำหนดข้อความขยายชื่อตัวแปร เพื่ออธิบายชื่อตัวแปรและแสดงออกทางผลลัพธ์ให้พิมพ์ตรงคอลัมน์ Label เช่น เพศ
4.4 Values กำหนดคำอธิบายให้กับค่าตัวแปร
4.5. Missing กำหนดค่าที่ไม่นำไปวิเคราะห์ มี 2 แบบ คือ User Missing ผู้วิจัยเป็นผู้กำหนด เช่น 9, 99, 999, …และ System Missing โปรแกรมจะกำหนดให้เอง
4.6 Column จำนวนความกว้างของคอลัมน์ คือจำนวนความกว้างมากสุดของ ค่าตัวแปร หรือ ชื่อตัวแปร หรือ label ตัวแปร
4.7. Align ให้แสดงค่าตัวแปร ชิดซ้าย กึ่งกลาง ชิดขวา
4.8. Measure ระดับการวัดของข้อมูล ได้แก่ Scale (Interval, Ratio), Ordinal, Nominal ให้กำหนดชื่อและรายละเอียดของตัวแปรให้ครบทุกตัว
5.การป้อนข้อมูลในหน้าต่าง Data View
Data View เป็นแบบตาราง การป้อนข้อมูลจะคล้ายกับ Excel
- บรรทัดแรก จะเป็นชื่อตัวแปร
- บรรทัดต่อไป จะเป็นข้อมูล ดูจำนวนข้อมูล
- ไปรายการสุดท้าย กดปุ่ม Ctrl+End
- กลับไปรายการแรก กดปุ่ม Ctrl+Home
- การ Show Label (View -> Value Labels)
- เรียบร้อยแล้วเราก็ทำการ Save ข้อมูลโดยการกดคลิกที่ปุ่ม Save จะได้กรอบ Save data กำหนดสถานที่จัดเก็บข้อมูลในช่อง Save in และกำหนดชื่อ File ในช่อง File name File ที่ได้จะมีนามสกุลเป็น sav
6. การวิเคราะห์ข้อมูล
6.1 คลิกที่เมนู Analyze เลือก Descriptive Statistic และเลือก Frequencies
6.2 จากนั้นเราจะได้กรอบ Frequencies กรอบ Frequencies ทางช่องซ้ายมือเป็นตัวแปรต่างๆ ที่ได้จากแบบสอบถาม ทางช่องขวามือจะเป็นส่วนเลือกตัวแปรเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล
6.3 เราจะเลือกตัวแปรโดยการคลิกที่ตัวแปรที่ต้องการวิเคราะห์ทางซ้ายมือ จากนั้นคลิกปุ่มเลือก(สามเหลี่ยมสีดำ)ตัวแปรที่ต้องการวิเคราะห์ก็จะตกไป อยู่ทางช่องขวามือ ในที่นี้ให้เลือกทั้งหมดทุกตัวแปร
6.4 คลิกปุ่ม Statistics แล้วจะได้กรอบ Frequencies Statistics
6.5 เลือกประเภทการวิเคราะห์ข้อมูล ในที่นี้เราจะวิเคราะห์ Central Tendency และ Dispersion โดยส่วน Central Tendency เลือก Mean, Median, Mode, Sum และส่วน Dispersion เลือก Std. deviation, Minimum, Maximum เลือกเสร็จเรียบร้อยแล้วให้คลิกปุ่ม Continue เมื่อคลิกปุ่ม Continue จะกลับมาที่กรอบ Frequencies Statistics
6.6. ต่อไปให้คลิกปุ่ม Charts จะได้กรอบ Frequencies Charts ในส่วน Frequencies Charts นี้ท่านสามารถเลือก Chart Type ว่าต้องการเป็น Charts ชนิดใด ในที่นี้ให้เลือก Bar charts แล้วคลิก Continue
6.7 เมื่อคลิกปุ่ม Continue จะกลับมาที่กรอบ Frequencies Statistics ดังภาพ จากนั้นคลิกปุ่ม OK ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล

การลิงค์ gotoknowhttp://gotoknow.org/blog/dangim

http://gotoknow.org/blog/dangim

ใบงานที่14เปรียบเทียบ blog

คำสั่ง ข้อเปรียบเทียบระหว่าง blogspot.com  กับ   gotoknow.org ในลักษณะต่าง ๆ
       จากการได้เข้มสัมผัสและเรียนรู้ระหว่าง blogspot.com กับ gotoknow.org แต่ละอย่างมีข้อเด่น ข้อด้อยที่แตกต่างกัน   แต่ในความเห็นส่วนตัวของผู้ตอบ มีความคิดเห็นดังนี้
    1. blogspot นั้นมีรูปแบบที่หลากหลายและสามารถสร้าง web page ที่มีสีสันมากกว่า
    2. gotoknow นั้นสร้างง่ายกว่าและไม่ยุ่งยาก ผู้ทำมีความรู้พื้นฐานก็สามารถทำได้
    3.การตกแต่งหน้า web blog  นั้น gotoknow ตกแต่งง่ายกว่า แต่เพิ่มสีสันไดน้อยกว่า
    4.gotoknow นิยมใช้มากในด้านการศึกษา หรืองานทั่วไป ส่วน blogspot นั้น จะเพิ่มในภาคธุรกิจมากขึ้นและแพรร่หลาย
    5. กลุ่มผู้ใช้ในระดับพื้นฐานใช่ gotoknow มากว่า แต่กลุ่มระดับกลางถึงสูงใช้ blogspot
ฉะนั้ในความเห็นส่วนตัว คิดว่าผู้ใช้ gotoknow น่าจะพัฒสู่รุปแบบ blogspot



http://gotoknow.org/blog/dangim

วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 4

การจัดการความรู้คืออะไร

การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)
รรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ
1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม

นพ.วิจารณ์ พานิช ได้ให้ความหมายของคำว่า “การจัดการความรู้” ไว้ คือ สำหรับนักปฏิบัติ การจัดการความรู้คือ เครื่องมือ เพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่
1. บรรลุเป้าหมายของงาน
2. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน
3. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้ และ
4. บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน

การจัดการความรู้เป็นการดำเนินการอย่างน้อย 6 ประการต่อความรู้ ได้แก่
(1) การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นหรือสำคัญต่องานหรือกิจกรรมของกลุ่มหรือองค์กร
(2) การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ
(3) การปรับปรุง ดัดแปลง หรือสร้างความรู้บางส่วน ให้เหมาะต่อการใช้งานของตน
(4) การประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจการงานของตน
(5) การนำประสบการณ์จากการทำงาน และการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสกัด “ขุมความรู้” ออกมาบันทึกไว้
(6) การจดบันทึก “ขุมความรู้” และ “แก่นความรู้” สำหรับไว้ใช้งาน และปรับปรุงเป็นชุดความรู้ที่ครบถ้วน ลุ่มลึกและเชื่อมโยงมากขึ้น เหมาะต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น

        โดยที่การดำเนินการ 6 ประการนี้บูรณาการเป็นเนื้อเดียวกัน ความรู้ที่เกี่ยวข้องเป็นทั้งความรู้ที่ชัดแจ้ง อยู่ในรูปของตัวหนังสือหรือรหัสอย่างอื่นที่เข้าใจได้ทั่วไป (Explicit Knowledge) และความรู้ฝังลึกอยู่ในสมอง (Tacit Knowledge) ที่อยู่ในคน ทั้งที่อยู่ในใจ (ความเชื่อ ค่านิยม) อยู่ในสมอง (เหตุผล) และอยู่ในมือ และส่วนอื่นๆ ของร่างกาย (ทักษะในการปฏิบัติ) การจัดการความรู้เป็นกิจกรรมที่คนจำนวนหนึ่งทำร่วมกันไม่ใช่กิจกรรมที่ทำโดยคนคนเดียว เนื่องจากเชื่อว่า “จัดการความรู้” จึงมีคนเข้าใจผิด เริ่มดำเนินการโดยรี่เข้าไปที่ความรู้ คือ เริ่มที่ความรู้ นี่คือความผิดพลาดที่พบบ่อยมาก การจัดการความรู้ที่ถูกต้องจะต้องเริ่มที่งานหรือเป้าหมายของงาน เป้าหมายของงานที่สำคัญ คือ การบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินการตามที่กำหนดไว้ ที่เรียกว่า Operation Effectiveness และนิยามผลสัมฤทธิ์ ออกเป็น 4 ส่วน คือ
(1) การสนองตอบ (Responsiveness) ซึ่งรวมทั้งการสนองตอบความต้องการของลูกค้า สนองตอบความต้องการของเจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้น สนองตอบความต้องการของพนักงาน และสนองตอบความต้องการของสังคมส่วนรวม
(2) การมีนวัตกรรม (Innovation) ทั้งที่เป็นนวัตกรรมในการทำงาน และนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์หรือบริการ
(3) ขีดความสามารถ (Competency) ขององค์กร และของบุคลากรที่พัฒนาขึ้น ซึ่งสะท้อนสภาพการเรียนรู้ขององค์กร และ
(4) ประสิทธิภาพ (Efficiency) ซึ่งหมายถึงสัดส่วนระหว่างผลลัพธ์ กับต้นทุนที่ลงไป การทำงานที่ประสิทธิภาพสูง หมายถึง การทำงานที่ลงทุนลงแรงน้อย แต่ได้ผลมากหรือคุณภาพสูง เป้าหมายสุดท้ายของการจัดการความรู้ คือ การที่กลุ่มคนที่ดำเนินการจัดการความรู้ร่วมกัน มีชุดความรู้ของตนเอง ที่ร่วมกันสร้างเอง สำหรับใช้งานของตน คนเหล่านี้จะสร้างความรู้ขึ้นใช้เองอยู่ตลอดเวลา โดยที่การสร้างนั้นเป็นการสร้างเพียงบางส่วน เป็นการสร้างผ่านการทดลองเอาความรู้จากภายนอกมาปรับปรุงให้เหมาะต่อสภาพของตน และทดลองใช้งาน จัดการความรู้ไม่ใช่กิจกรรมที่ดำเนินการเฉพาะหรือเกี่ยวกับเรื่องความรู้ แต่เป็นกิจกรรมที่แทรก/แฝง หรือในภาษาวิชาการเรียกว่า บูรณาการอยู่กับทุกกิจกรรมของการทำงาน และที่สำคัญตัวการจัดการความรู้เองก็ต้องการการจัดการด้วย

ตั้งเป้าหมายการจัดการความรู้เพื่อพัฒนา
งาน พัฒนางาน
คน พัฒนาคน
องค์กร เป็นองค์กรการเรียนรู้
ความเป็นชุมชนในที่ทำงาน การจัดการความรู้จึงไม่ใช่เป้าหมายในตัวของมันเอง นี่คือ หลุมพรางข้อที่ 1 ของการจัดการความรู้ เมื่อไรก็ตามที่มีการเข้าใจผิด เอาการจัดการความรู้เป็นเป้าหมาย ความผิดพลาดก็เริ่มเดินเข้ามา อันตรายที่จะเกิดตามมาคือ การจัดการความรู้เทียม หรือ ปลอม เป็นการดำเนินการเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่ามีการจัดการความรู้ การริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้ แรงจูงใจ การริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้เป็นก้าวแรก ถ้าก้าวถูกทิศทาง ถูกวิธี ก็มีโอกาสสำเร็จสูง แต่ถ้าก้าวผิด ก็จะเดินไปสู่ความล้มเหลว ตัวกำหนดที่สำคัญคือแรงจูงใจในการริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้

การจัดการความรู้ที่ดีเริ่มด้วย
สัมมาทิฐิ : ใช้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุความสำเร็จและความมั่นคงในระยะยาว
การจัดทีมริเริ่มดำเนินการ
การฝึกอบรมโดยการปฏิบัติจริง และดำเนินการต่อเนื่อง
การจัดการระบบการจัดการความรู้

แรงจูงใจในการริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้ แรงจูงใจแท้ต่อการดำเนินการจัดการความรู้ คือ เป้าหมายที่งาน คน องค์กร และความเป็นชุมชนในที่ทำงานดังกล่าวแล้ว เป็นเงื่อนไขสำคัญ ในระดับที่เป็นหัวใจสู่ความสำเร็จในการจัดการความรู้ แรงจูงใจเทียมจะนำไปสู่การดำเนินการจัดการความรู้แบบเทียม และไปสู่ความล้มเหลวของการจัดการความรู้ในที่สุด แรงจูงใจเทียมต่อการดำเนินการจัดการความรู้ในสังคมไทย มีมากมายหลายแบบ ที่พบบ่อยที่สุด คือ ทำเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่าทำ ทำเพราะถูกบังคับตามข้อกำหนด ทำตามแฟชั่นแต่ไม่เข้าใจความหมาย และวิธีการดำเนินการ จัดการความรู้อย่างแท้จริง

องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้ (Knowledge Process)
1. “คน” ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นแหล่งความรู้ และเป็นผู้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์
2.“เทคโนโลยี” เป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้อย่างง่าย และรวดเร็วขึ้น
3. “กระบวนการความรู้” นั้น เป็นการบริหารจัดการ เพื่อนำความรู้จากแหล่งความรู้ไปให้ผู้ใช้ เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุง และนวัตกรรม
องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ จะต้องเชื่อมโยงและบูรณาการอย่างสมดุล การจัดการความรู้ของกรมการปกครอง จากพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 กำหนดให้ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราขการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมะสมต่อสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน ขอบเขต KM ที่ได้มีการพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความสำคัญเร่งด่วนในขณะนี้ คือ การจัดการองค์ความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการ และได้กำหนดเป้าหมาย (Desired State) ของ KM ที่จะดำเนินการในปี 2549 คือมุ่งเน้นให้อำเภอ/กิ่งอำเภอ เป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการในพื้นที่ที่เป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยมีหน่วยที่วัดผลได้เป็นรูปธรรม คือ อำเภอ/กิ่งอำเภอ มีข้อมูลผลสำเร็จ การแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการในศูนย์ปฏิบัติการฯ ไม่น้อยกว่าศูนย์ละ 1 เรื่อง และเพื่อให้เป้าหมายบรรลุผล ได้จัดให้มีกิจกรรมกระบวนการจัดการความรู้ (KM Process) และกิจกรรมกระบวนการเปลี่ยนแปลง (Change Management Process) ควบคู่กันไป โดยมีความคาดหวังว่าแผนการจัดการความรู้นี้จะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญสู่การปฏิบัติราชการในขอบเขต KM และเป้าหมาย KM ในเรื่องอื่น ๆ และนำไปสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน ต่อไป

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ใบงานที่ ๑๐

ประวัติ นายประยูร   รักษ์กำเนิด
เกิดวันที่ ๑๘   เมษายน ๒๕๐๓   
ที่อยู่ ๙๓/๓ ม.๕  ต.สามตำบล  อ.จุฬาภรณ์ จ.นครศรีธรรมราช

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ใบงานที่ ๙

ผู้บริหารมืออาชีพ ควรเป็น
1. ความหมายลักษณะการเป็นมืออาชีพ หมายถึง การทำงานด้วยความรู้ความสามารถ ความตั้งใจจริงและทำงานให้เกิดผลงานดีที่สุด มืออาชีพจะมีลักษณะ ดังนี้
        1) มีการให้บริการสังคมไม่ซ้ำซ้อนกับวิชาชีพอื่นนั้นคือ มีความรู้ความชำนาญพิเศษเฉพาะอาชีพนั้นๆ
       2) ใช้วิธีการแห่งปัญญา มืออาชีพทำงานโดยใช้สมองเป็นหลัก ใช้ความรู้เป็นหลักในการทำงาน
       3) มีอิสระในการดำเนินงาน มืออาชีพมีสิทธิ์จะทำงานของตนเองโดยอิสระ รับผิดชอบได้โดยไม่ต้องมีการควบคุมผู้อื่นมากนัก ทำงานเพื่อให้เกิดผลงานเป็นหลัก
       4) ผู้ประกอบวิชาชีพผ่านการศึกษาระดับสูงโดยปกติมืออาชีพต้องเรียนนานมักจบปริญญาตรีอย่างต่ำ
       5) มีจรรยาบรรณของวิชาชีพ มืออาชีพต้องรักษาความรับผิดชอบและจริยธรรมของอาชีพของตนอย่างเคร่งครัด
6) มีความมั่นคง มีสถาบันวิชาชีพ มืออาชีพมักทำงานแล้วได้รายได้ดี มีรายได้สูงมีศักดิ์ศรีในสังคม

2. คุณลักษณะของการเป็นมืออาชีพ ผู้ประกอบอาชีพมืออาชีพต้องมีแนวปฏิบัติที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ ดังนี้
      1) ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด อดทน ตรงต่อเวลา
      2) เป็นคนเก่ง เป็นคนดี มีความกล้าหาญ รับผิดชอบ ตัดสินใจอย่างชาญฉลาด
      3) สุภาพ ตรงต่อเวลา ละเอียดลออ รู้จักแสวงหากัลยาณมิตร
      4) ใช้คุณธรรมเป็นเครื่องชี้นำอาชีพ 5) ฝึกฝนพัฒนาตนเองอยู่เสมอ

3. นักบริหารมืออาชีพ คือ ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารงาน กิจการต่างๆให้สำเร็จ โดยอาศัยความรู้ความสามารถของตนเองและความร่วมมือของผู้อื่น ลักษณะเด่นของผู้บริหารมืออาชีพมีดังนี้
      1) มีความรอบรู้ทันต่อเหตุการณ์
      2) มีการตัดสินใจที่ดี รวดเร็ว แม่นยำและถูกต้อง
      3) สามารถจับประเด็นได้รวดเร็ว ออกความเห็นได้ทันการ
      4) สามารถเลือกใช้คนได้เหมาะสมกับงาน
      5) ยอมรับการเปลี่ยนแปลงพร้อมที่จะปรับตัว
      6) มีระเบียบ ละเอียดรอบคอบ เคร่งครัดเรื่องเวลา
      7) ซื่อสัตย์มีคุณธรรม ยึดมั่นในจรรยาวิชาชีพ
      8) เชื่อมั่นในตนเอง มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถประสานงานได้เยี่ยม

4. คุณลักษณะของนักบริหารมืออาชีพ
      4.1 นักบริหารมืออาชีพต้องมีคุณลักษณะภายในตนที่สามารถปลูกฝังและฝึกได้หลายประการ ดังต่อไปนี้
            1) มีวิสัยทัศน์ มีสายตาที่ยาวไกล ก้าวไปข้างหน้าอยู่ตลอดเวลา
            2) ตรงไปตรงมา มีความเชื่อมั่นในตนเองอย่างสูงสุด
            3) ทำงานโดยมุ่งผลสำเร็จมากกว่ามุ่งกระบวนการ
            4) มองปัญหาชัดใช้ปัญญาในการการแก้ปัญหาและกล้าตัดสินใจ
            5) เป็นผู้มีศิลปในการประนีประนอม 6) การทำงานเป็นทีม
     4.2 ต้องมีความเป็นผู้นำ โดยคุณสมบัติผู้นำที่ดีควรมี ดังนี้
             1. เป็นผู้มีความคิดกว้างไกลและลึก
             2. มีความสามารถในด้านการใช้ภาษา
             3 มีความคิดริเริ่ม
             4. เป็นคนที่ฉลาด
             5. มีความสำเร็จในด้านวิชาการและด้านบริหาร



6. มีความรับผิดชอบ 7. ความอดทน 8. ความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสังคมได้



9. มีระดับจิตใจสูง



4.3 คุณลักษณะของการเป็นผู้นำตามแนวคิดของนักวิชาการชาวไทย



1. ลักษณะท่าทาง 2. ความกล้าหาญ 3. ความเด็ดขาด



4. ความไว้วางใจ 5. ความอดทน 6. ความกระตือรือร้น



7. ความริเริ่ม 8. ความซื่อสัตย์ 9. ดุลยพินิจ



10. ความยุติธรรม 11.ความรู้ 12. ความจงรักภักดี



13.ความแนบเนียน 14. ความไม่เห็นแก่ตัว



5. ลักษณะเด่นของผู้บริหารคนสำคัญที่ประสบผลสำเร็จ เช่น



5.1 นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี มีคุณลักษณะเด่นคือ



1) มีวิสัยทัศน์ (Vision) 2) ตรงไปตรงมา ( Frankness) 3) ทำงานโดยมุ่งสู่ผล 4) กล้าตัดสินใจ 5) ประนีประนอม 6) สปิริตแห่งการทำงานเป็นทีม



7) ภาวะผู้นำ 8) โปร่งใส 9) มียุทธวิธี



5.2 พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีคุณลักษณะและอุปนิสัยดังนี้



คุณลักษณะ 1) มีความกล้า 2) มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง



3) มีความทะเยอทะยาน 4) มีมนุษยสัมพันธ์ดี



5) มีความมุ่งมั่น 6) มีสติเฉลียวฉลาด



แนวดำเนินชีวิต 1) ให้ความสำคัญกับครอบครัวเป็นอันดับแรก 2) ใช้ชีวิตสมถะ



3) สู้ชีวิตด้วยการลงมือทำ 4)การบริหารยึดวิสัยทัศน์



5) เชื่อว่าการเมืองในระบบเท่านั้นคือการเมืองที่ถูกต้องที่สุด



5.3 นพ. กระแส ชนะวงศ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี มีเบื้องหลังที่ทำให้ประสบความสำเร็จคือ



1) ได้รับแนวคิดพัฒนาจากนักพัฒนาชาวอเมริกาเชื้อสายจีน



2) ได้รับอิทธิพลการพัฒนาแบบญี่ปุ่น 3) เน้นการมีส่วนร่วมของชาวบ้าน



4) เน้นเรื่องภาวะผู้นำ 5) ให้ความสามารถต่อสตรีในการพัฒนา



6. หลักการแนวคิดในการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารราชการและเอกชนมืออาชีพ



6.1 ดร. จรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึง ผู้บริหารมืออาชีพ ต้องมีพื้นฐานด้านบุคลิกภาพ ท่านควรรู้จักสไตล์ หรือลีลาที่เป็นเอกลักษณ์ของท่าน ท่านจึงควรเริ่มต้นจากการค้นหาตัวตนของท่านเสียก่อนว่าท่านเป็นคน อย่างไร มาทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับบุคลิกภาพเพื่อค้นให้พบตนเอง บุคลิกดีนำสู่ความสำเร็จ บุคลิกดีเป็นใบเบิกทางให้ท่านไปสู่เป้าหมายความสำเร็จ

ความสำเร็จ = ดี + เก่ง + จังหวะ แม้ท่านจะมีบุคลิกดีเพียงใด ก็โปรดเข้าใจสัจธรรมของชีวิต นั่นคือความสำเร็จมิใช่สูตรสำเร็จ มีหลายปัจจัยประกอบกัน ท่านต้องใช้คุณลักษณะและคุณสมบัติหลายประการ บุคลิกภาพของผู้บริหารที่คนยอมรับต้องมีคุณลักษณะเด่นดังนี้

1. การมีบุคลิกภาพที่ดี มีรูปร่าง หน้าตา ท่าทางที่ดูสง่างาม

2. การมีอุปนิสัยที่น่าเชื่อถือ แสดงกิริยาท่าทีที่ไว้ใจได้ น่าศรัทธาเลื่อมใส

3. พฤติกรรมดีมีความประพฤติที่ถูกทำนองคลองธรรม รู้ชอบชั่วดี

4. ทำงานดีและมีภาวะผู้นำ กล้าหาญทำการใหญ่

6.2 ปรัชญาบริหารจัดการของนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร

1. จุดยืนใหม่ของประเทศไทย ได้แก่ความเชื่อมั่นในการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย ที่มีอุดมการณ์ โดยอาศัย ผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

2 กระบวนการทำงาน การทำงานต้องปรับโครงสร้าง องค์กรให้เล็กคล่องตัว โดยสร้างวัฒนธรรมขององค์กรและวัฒนธรรมของการทำงานเป็นหมู่คณะทำงาน การบริหารอย่างบูรณาการซึ่งใช้สหวิทยาการอย่างกลมกลืน รวมทั้งต้องปรับกระบวนการรายงานทุกลำดับชั้น ( Matrix Report)

3. การแข่งขันในเวทีโลก ทำให้ต้องปรับองค์กรและคนทำงานให้รู้จักเรียนรู้สิ่งใหม่ ต้องเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ เริ่มจากการทำงานจากการสร้างฐานข้อมูล แล้วสังเคราะห์ประสบการณ์จนเกิดเป็นองค์ความรู้ ซึ่งต่อมาเกิดเป็นปัญญารู้แจ้งมองทะลุถึงแก่นจนนำไปใช้งานได้จริง (Information - -> Knowledge - -> Wisdom )

4. ภาวะผู้นำ ผู้บริหารต้องมี มีวิสัยทัศน์ รู้จักมองการไกล เป็นนักสื่อสารที่ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ได้ยอดเยี่ยม เป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือ พูดจริงทำจริง กล้าได้กล้าเสียกล้าคิดการใหญ่ กล้าเปลี่ยนแปลง แม้มีผู้คัดค้าน กล้าคิดใหม่ทำใหม่ให้แตกต่างไปจากความเคยชินเดิม และต้องทำด้วยความรวดเร็ว แข่งกับเวลา

5. นโยบายรัฐบาลภายใต้การนำของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีหลักการสำคัญคือ การลดรายจ่าย การเพิ่มรายได้ การ ขยายโอกาส และการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

6.3 Prof. Dipak C.Jain คณบดีวิทยาลัยการจัดการ Kellogg และที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้เสนอแนวคิดไว้ดังนี้

1. การบริหารคือการขับเคลื่อนโดยใช้กลไกตลาด ผู้บริหารต้องเข้าใจว่าลูกค้าคือใคร/ ใครคือคู่แข่ง/ เราเก่งอะไร/ เราจะขายอะไร

2. ต้องสร้างภาพลักษณ์และกำหนดจุดยืนในตลาด เช่น มีคุณลักษณะเฉพาะ และคุณภาพเทียบได้ทัดเทียมกับมาตรฐานสากล

3. บุคลิกนักบริหาร ผู้จะก้าวหน้าในอันดับหัวแถวต้องสร้างคุณลักษณะพิเศษ ได้แก่

คิดใหญ่ฝันใหญ่ ต้องการสร้างชิ้นงานหรือโครงการที่สำคัญ ใช้สัญชาติญาณ ใช้ข้อมูล ใช้องค์ความรู้จนสามารถสร้างชิ้นงาน หรือนวัตกรรมใหม่ ขับเคลื่อนความฝันอย่างมีเป้าหมาย มีทิศทางที่มีโอกาสสู่ความสำเร็จ มีกลยุทธ และ มีมิติวัดผลสำเร็จ ทำงานอย่างมีกระบวนการวางแผนรัดกุมรอบคอบ ทำงานไปแล้วติดตามวัดผลสำเร็จได้

สร้างทีมร่วมผลักดัน รู้จักทำเป็นแบบอย่าง ใช้ขีดความสามารถของแต่ละคนมาร่วมกันสร้างสรรค์งานใหญ่ โดยผู้บริหารมาร่วมคิดช่วย ชี้แนะ เป็นต้นแบบของการทำงานหนักเอาเบาสู้ สร้างแรงจูงใจ รวมทั้งการ มอบอำนาจ ผู้บริหารต้อง ให้กำลังใจสร้างขวัญในการทำงานและรู้จักกระจายอำนาจความรับผิดชอบให้ผู้บริหารระดับรองลงไป ช่วยแบ่งเบางานที่ต้องตัดสินใจ

4. การนำการเปลี่ยนแปลงของนักบริหาร คือการจัดการภารกิจเหล่านี้ให้เกิดผลดีการ คิดเชิงธุรกิจ (โอกาส + กำไร) คำนึงถึงความคุ้มทุนและคุ้มค่า โดยเฉพาะการทำงานราชการมักไม่คำนวณต้นทุนเนื่องจากเป็นงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรมาให้ ทัศนคติเชิงบวก มองวิกฤติให้เป็นโอกาส แม้เผชิญปัญหาอุปสรรคก็มิได้ย่อท้อ ความสามารถนำทีม นำคณะไปสู่การสร้างความสำเร็จการ ทำงานเชิงรุก บุกเข้าไปไม่ท้อถอย ป้องกันก่อนเกิดปัญหาจริง การสร้างวัฒนธรรมองค์กร สร้างทีมงานที่แข็งแกร่งรู้จักประสานสมานฉันท์

6.4 William S. Cohen อดีตรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกาในยุคประธานาธิบดีบิลล์ คลินตัน ได้เน้นถึง พลวัตรการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและภูมิรัฐศาสตร์โลก ที่ผู้บริหารต้องเรียนรู้

1. สร้างความเชื่อมั่นและบรรยากาศลงทุน จะทำให้โอกาสของการทำงานขยายขอบเขตได้ในระดับโลก

2. สร้างความอิสระในการแข่งขัน สร้างบรรยากาศแห่งการวิจัยและพัฒนา ใช้กลไกตลาดขับเคลื่อนให้แข่งทำดี

3. มีกฎกติกามาตรฐานสากล มีกฎหมายคุ้มครองสร้างความเชื่อมั่นในระบบที่เป็นธรรม

4. ใช้หลักการบริการกิจการบ้านเมืองที่ดี มีความ เปิดเผย โปร่งใส และ ตรวจสอบได้

5. ความรับผิดชอบในภารกิจหน้าที่

6.5 Thomas H. Davenport ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลงและประธานสาขาวิชาการจัดการข้อมูลสารสนเทศ จาก Babson College ยึดหลักในการจัดการองค์ความรู้ที่ผู้บริหารต้องเรียนรู้

1. ต้องสร้างระบบฐานเศรษฐกิจความรู้ โดยขับเคลื่อนทุกคนในองค์กรให้ทำงานด้วยความรู้จนผลงานเกิดผลผลผลิต

2. ปัจจัยสร้างสังคมฐานเศรษฐกิจความรู้

2.1 ศักยภาพในการสร้างนวัตกรรม ผู้เป็นต้นคิดนำสินค้าหรือบริการออกเผยแพร่ก่อน ย่อมมีโอกาสครอบครองส่วนแบ่งของตลาดได้ก่อนผู้อื่น

2.2 ทรัพยากรบุคคล

2.3 เทคโนโลยีสมัยใหม่รู้จักใช้เครื่องมืออำนวยความสะดวกยุคใหม่

2.4 สร้างสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจเพื่อเอื้ออำนวยให้เกิด





6.6 ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึง การบริหารแบบบูรณาการภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ชาติ ว่า

1. ปัจจัยความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เกิดจากผู้บริหารต้องสร้างหรือใช้ปัจจัยต่อไปนี้เพื่อขับเคลื่อนไปสู่ความสำเร็จสร้างโอกาสมากกว่าจะรอโอกาสมาถึงก่อนจึงจะลงมือทำ รวมทั้งต้องขจัด ความเหลื่อมล้ำหรือ ความไม่เท่าเทียมความแข็งแกร่งเชิงยุทธศาสตร์ ทำงานอย่างมีชั้นเชิงวางแผนล่วงหน้า มีการลง ทุนทางปัญญา มีงานวิจัย ใช้ นักวิทยาศาสตร์นักวิชาการมาช่วยค้นคิด ความสามารถในการบริหารจัดการ ต้องบริหารอย่างมืออาชีพ

2. บุคลิกนักบริหาร

- เรียนรู้สิ่งใหม่/ รับฟัง/ อ่านตำราใหม่ ๆ ผู้บริหารที่อ่านมากจะรู้มาก ก้าวทันโลกวิทยาการ

- รู้จักเลือกใช้คน ใช้คนให้เหมาะกับความรู้ความสามารถ

- มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ช่วยป้องกันการตัดสินใจที่อาจผิดพลาด

- สื่อสารให้ทีมงานเข้าใจได้ กระจายข้อมูลที่จำเป็นให้ทุกคนรับรู้อย่างทั่งถึงและรวดเร็ว

- สร้างเศรษฐกิจชุมชนไปสู่การแข่งขันตลาดโลกจากการกสร้างเศรษฐกิจในครัวเรือนให้พอมีพอ



เพียง ไปสู่การทำมาค้าขายในระดับท้องถิ่นไปจนถึงก้าวเข้าสู่ตลาดระหว่างประเทศ

- ผู้นำต้องมีผู้ตาม ผู้บริหารต้องสามารถทำงานและกำกับควบคุมให้ผู้อื่นทำงานด้วย

- ผู้นำต้องสร้างคน ต้องสร้างผู้บริหารไว้หลายระดับ มีตัวตายตัวแทนหมุนเวียนให้คนรุ่นใหม่ก้าวเข้า



มาแทนเพื่อตัวเองสามารถก้าวให้สูงขึ้น

- ผู้นำต้องคิดให้ทะลุ มองปัญหาไว้ตั้งแต่การป้องกัน การแก้ไข กระบวนการทำงานทุกขั้นตอน

3.ให้พัฒนาคุณภาพของตัวผู้บริหาร ดังที่เต๋า เต็ก เก็ง เคยเขียนไว้ว่า ผู้นำที่คุณภาพต่ำสุด คือ ผู้นำที่ทุกคนเกลียด ผู้นำที่ดีขึ้นมาบ้าง คือ ผู้นำที่ทุกคนกลัว ผู้นำที่ดีมาก คือ ผู้นำที่ทุกคนรัก ผู้นำที่เก่งที่สุด คือ ผู้นำที่ทุกคนทำตามโดยไม่ต้องบอก

6.7 Prof. Neal Thornberry วิทยากรชาวต่างประเทศอีกผู้หนึ่งได้กล่าวถึง ผู้บริหารต้องเป็นผู้นำในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ซึ่ง มี 4 ขั้นตอน เหมือนห้องในบ้านที่กำลังมีการซ่อมแซม

1. ไม่เห็นด้วยไม่ตอบ ไม่รู้ไม่เข้าใจว่าอะไรกำลังเกิดขึ้นไม่ มีปฏิกิริยาต่อต้านj

2. ไม่เห็นด้วยและต่อต้าน ไม่พอใจในสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น จึงโต้แย้ง

3. อยากเปลี่ยนแต่ไม่รู้จะทำอะไร พร้อมที่จะให้ความร่วมมือแต่ทำอะไรไม่ถูกเพราะขาดข้อมูลผู้ชี้แนะ

4. ทุกคนเข้าใจยอมเปลี่ยนแปลงและร่วมลงมือ ยินดีปรับตัวช่วยกันด้วยความพอใจ ผู้บริหารที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงจึงต้องเข้าใจขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลง และรู้ว่าในขณะนี้องค์กรที่ตนเองเป็นผู้นำอยู่ กำลังอยู่ในสภาพใดของกระบวนการ เพื่อจะได้รับมือได้เหมาะสม

6.8 ศาสตราจารย์ดร. ชัยอนันต์ สมุทวนิช นักบริหารและนักคิด ราชบัณฑิตคนสำคัญได้ ให้ความสำคัญกับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างส่วนกลางภูมิภาคและท้องถิ่น เพื่อผู้บริหารจักได้ใช้กลไกการบริหารในระบบปฏิรูปใหม่ได้ดี

1. ระบบราชการใหม่ได้เกิดการปฏิรูปโครงสร้างใหม่ของระบบราชการไทย เกิดโครงสร้างใหม่ 20 กระทรวง ตั้งแต่ 3 ตุลาคม 2545ทำให้ส่วนราชการไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของระบบราชการไทย

2. ระบบบริหารจัดการที่ปฏิรูปคือ การจัดการสร้างเครือข่ายนโยบายและการบูรณาการ ผู้บริหารต้องเข้าใจว่าการทำงานของส่วนราชการคือการเป็นผู้นำนโยบายสาธารณะที่เกิดจากฝ่ายการเมืองหรือรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติจริง ซึ่งต้องใช้ความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน จากหลายนโยบาย ในหน่วยงานหลายระดับและพื้นที่ ผู้บริหารราชการยุคใหม่จึงต้องเข้าใจวิธีทำงานรูปแบบใหม่ที่ต้องสร้างความเชื่อมโยงหลายเรื่องให้ผสมผสานอย่างพอเหมาะ

3. การบริหารองค์กรแบบเครือข่าย

1) องค์กรทำงานในหลายระดับตั้งแต่ ระดับโลก ภูมิภาค/ อนุภูมิภาค ชาติ/ จังหวัด ไปจนถึงระดับท้องถิ่นหรือ ชุมชน

2) เครือข่ายทำงานมีหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่แบบปกติ เครือข่ายทางสังคม นวัตกรรม ความรู้ กลยุทธ์ การเรียนรู้ การเมือง และเครือข่ายจิตวิญญาณ

4. ผู้บริหารแบบบูรณาการ ได้แก่ คือการรู้จักผสมระหว่างเทคนิคต่างๆตั้งแต่ การมีบทบาทเป็นผู้นำ การระดมความคิดจากภาคี การพัฒนาทุนทางสังคม และการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่าย

6.9 ดร. วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้เน้นถึง การปฏิรูประบบบริหารงานภาครัฐ

1. การปฏิรูประบบราชการไทย มี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่1การปฏิรูปโครงสร้างภาครัฐ ขั้นตอนที่2 การปฏิรูปวิธีปฏิบัติราชการ และขั้นตอนที่3การปฏิรูปการจัดการทรัพยากร ซึ่งในปี พศ.2545ถึง2546ได้เข้าสู่ขั้นตอนที่1 และจะได้ขยายผลในขั้นตอนต่อไปในปีพศ.2547

2. การปฏิรูป โครงสร้างภาครัฐ โครงสร้างใหม่ของระบบราชการไทยประกอบด้วยโครงสร้าง 4 ลักษณะ ได้แก่1) กระทรวง กลุ่มภารกิจ กรม2) องค์การมหาชน3) รัฐวิสาหกิจ และ4) หน่วยพิเศษ องค์กรอิสระ

3. วิธีปฏิบัติราชการ แนวทางการทำงานในระบบราชการยุคใหม่ประกอบด้วย

1) การพัฒนาผู้นำ/ การบริหารการเปลี่ยนแปลง คือ ต้องเริ่มจากตัวผู้บริหารทุกระดับต้องพัฒนาตนเองให้เข้าใจการเป็นผู้นำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีกระบวนการและมีชั้นเชิง โดยใช้

-การกำหนด เป้าหมายขององค์กรและการเปลี่ยนแปลง - มีกุศโลบายมีขั้นตอนของการทำงานที่ดี

-สร้างความคาดหมายความคาดหวังเพื่อให้ทุกคนเกิดกำลังใจ - กำหนดความรับผิดชอบกระจายภาระหน้าที่ซึ่งคำนึงถึงผลที่จะเกิดติดตามมา - กระจายอำนาจ แบ่งงานไปช่วยกันดำเนินการ - จัดสรรงบประมาณที่ประหยัดและเกิดประโยชน์คุ้มค่า

2) การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี การบริหารราชการไทยต้องมีหลักการ - คำนึงถึง ประโยชน์สุขแก่ประชาชน - มุ่งผลสัมฤทธิ์ ทำงานมุ่งสู่ผลสำเร็จตามเป้าหมาย - ประเมินผลให้คุณและโทษ - ปรับปรุงประสิทธิภาพหน่วยงาน - บริการการให้สะดวกและเชื้อเชิญ - มีประสิทธิภาพและคุ้มค่า – ลดขั้นตอนเวลาที่ยาว/ยุ่ง

4. การจัดการทรัพยากร

1)การบริหารงานบุคคล จะไม่เพิ่มอัตรากำลัง จัดระบบบุคลากรพิเศษได้แก่การกำหนดระบบการจ้างงานในตำแหน่งพนักงานราชการ และการปรับค่าตอบแทนที่เหมาะสม

2)การบริหารจัดการทรัพย์สิน จะใช้มาตรการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน การปรับปรุงสถานที่ทำงานของหน่วยราชการให้เป็นศูนย์ราชการ และปรับวิธีจัดซื้อจัดจ้างรูปแบบใหม่

3)การบริหารจัดการงบประมาณ ปรับปรุงระบบให้เริ่มจากการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ โดยมีเป้าหมายและยุทธศาสตร์ และเปลี่ยนแปลงวิธีการงบประมาณใหม่ตามระเบียบบริหารงบประมาณใหม่ฉบับปีพศ.2546

4) การปรับปรุงงานด้านกฏหมาย ให้คำนึงถึงสถานะทางกฎหมายที่ต้องใช้ในการบริหารราชการ โดยต้องจัดให้ มีแผนนิติบัญญัติ และปรับกฎหมายให้ทันสมัย เนื่องจากมีกฎหมายค้างการพิจารณาหลายฉบับ และต้องร่างกฎหมายใหม่ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง

6.10 นายธนินทร์ เจียรวนนท์ นักธุรกิจที่ประสพความสำเร็จสูงจากการบริหารบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ได้เล่าประสพการณ์ในการทำงานไว้ดังนี้

1. การบริหารแบบครอบครัวซึ่งเป็นการบริหารงานธุรกิจแบบดั้งเดิมนั้น ในปัจจุบันก้าวไม่ทันกับการแข่งขันในโลกยุคใหม่ การบริหารยุคนี้ต้องใช้คนเก่งมาช่วย ดังนั้นบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์จึงใช้ยุทธศาสตร์ "คนเก่งของโลกเป็นของ ซี.พี."

2. ตลาดยุคใหม่เน้นธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและการบริการ อาชีพชั้นแนวหน้าที่เป็นผลเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ ได้แก่ อาชีพทางด้านกฎหมาย การเงิน สุขภาพผู้สูงอายุ ธุรกิจขนส่ง และธุรกิจการบรรจุภัณฑ์

3. การบริหารจัดการต้องสร้างเครือข่ายการขาย เช่น การซื้อขายผ่าน e-commerce การบริการขนส่งที่สะดวก และต้องวิจัยเพื่อพัฒนาให้ได้สินค้าและบริการที่ลูกค้าต้องการ

4. ผู้บริหารที่ดี ต้องมีคุณลักษณะดังนี้ - มีภาวะผู้นำ - รู้จักใช้คนเก่ง คือ ให้อำนาจ ให้เกียรติ ค่าตอบแทนที่เหมาะสม - ทำงานรวดเร็ว - ลดขั้นตอนมิให้ซับซ้อนยุ่งยาก - หมุนเวียนผู้บริหารทุก 4-8 ปี ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเรียนรู้งานลักษณะอื่น

6.11 นายบุญคลี ปลั่งศิริ ประธานบริษัทในเครือของธุรกิจกลุ่มชินคอร์ป ได้เปรียบเทียบผู้บริหารในระบบราชการกับระบบธุรกิจมีความแตกต่างที่ผู้บริหารราชการ สามารถนำไปพัฒนาตนเอง ดังนี้

1.ผู้บริหาร เป็น ผู้นำการเปลี่ยนแปลงจึงต้องปรับปรุงตนเองให้มีศักยภาพที่เหมาะสม

1.1 วิสัยทัศน์ที่ดี คือ ยืดหยุ่น ตรงกับภารกิจหลัก มุ่งเพื่ออนาคต และท้าทายคนในองค์กร

1.2 ภารกิจ สนองต่อการนำวิสัยทัศน์สู่เป้าหมาย

1.3 ยุทธศาสตร์ รัฐกับธุรกิจแตกต่างกัน

1.4. การบริหารจัดการมี 4 ขั้นตอน 1) กำหนดทิศทาง/ วิสัยทัศน์ 2) กำหนดตัวชี้วัด

3) มีแผนปฏิบัติงานและแผนการเงิน 4) มีการประเมินผลตามข้อตกลงร่วมกัน

1.5. การบริหารจัดการที่ดีใช้ทฤษฎี 7's Model - Structure (โครงสร้าง)



- Shared Vision (วิสัยทัศน์) - Strategy (มียุทธศาสตร์)

- Styles (ลีลาเฉพาะ) - System (ระบบ)

- Staff (ทีม) - Skills (ทักษะ)

1.6. งานของผู้บริหาร

- เป็นทั้ง 5 อย่างในจังหวะ/ เวลาที่เหมาะสม ได้แก่ นายผู้จัดการ ผู้ควบคุม ผู้นำ และ เถ้าแก่

- แก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา หน้าที่ของผู้บริหารคือการแก้ปัญหา

- ชั่งน้ำหนักระหว่างของหรือกระบวนการสองสิ่งเพื่อให้ได้ผลงานที่ดีที่สุด เช่นการรู้จัก



เลือกระหว่าง - นักคิดกับนักทำ - ส่วนกลางกับท้องถิ่น - นามธรรมกับรูปธรรม

- ปริมาณกับคุณภาพ - โอกาสกับความเสี่ยง



- ศาสตร์กับศิลป์ - กระบวนการกับผลงาน

1.7. สิ่งต้องระวังของผู้บริหาร - คิดว่าตนเองเก่งแล้วไม่ต้องพัฒนา



- ยิ่งผลัก ปฏิกิริยาโต้กลับจะยิ่งแรงและเร็ว



- บางคนกลัวความล้มเหลวจนเกินพอดี











6.12 คุณทศ จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท เซ็นทรัลรีเทล คอร์เปเรชั่น จำกัด เป็นบุตร คนสุดท้อง ( คนที่ 10 : ทศ ) ของตระกูลจิราธิวัฒน์ บริหารงานบริษัทย่อย 9 บริษัท รวมทั้งห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัล และบิ๊กซี พนักงาน 28,000 คน รายได้ 40,000 ล้านบาทต่อปี

- ชมชอบวิธีการทำงานของนายกรัฐมนตรี ดร.ทักษิณ ชินวัตร คือ Stepแรก ดึงคนส่วนมากให้มีฐานะ ดีขึ้น และStepต่อมา ดึงเพื่อนบ้านขึ้น

- การทำงานที่สำคัญที่สุดคือทำให้ดีที่สุดและขยายโอกาสให้ได้รับผลประกอบการโตขึ้น 2 เท่าของ



GDP

- หลักการทำงาน : CEO ต้องทำให้บริษัทโตต่อเนื่องมองไป 3 ปี 5ปีข้างหน้าให้คนภูมิใจในบริษัท

- เป้าหมายชัดเจนและเดินสู่เป้าหมาย

- กลยุทธ์ Aggressive : เร็วและรุก

- ปัญหาเป็นเพียงสิ่งท้าทาย (ปัญหาทุกอย่างแก้ได้หมด) ถ้าแก้ไม่ได้ถามเพื่อน

- ข้อมูลไม่มีถูก 100% การตัดสินใจไม่จำเป็นต้องถูก 100% ที่สำคัญที่สุดคือต้องพัฒนาไปให้ต่อเนื่อง

- คนถือว่าเป็นMassที่สำคัญ การบริหารคนยึด Benefit(ประโยชน์) Conversation (การปฏิสันถาร) และ



Training คนถ้า 10 ปี ไม่ติดตามนวัตกรรมจะหลุดโลก

- ต้องทำให้พนักงานบริษัทเข้าใจ Mission Vision และ Strategy ของบริษัท

- Strategy ของบริษัทเน้นผลประกอบการ ระบบงาน และความเป็นอยู่ของพนักงานคือ GBEST :



Growth, Brand, Efficiency, System และ Training

6.13 คุณพรศิริ โรจน์เมธา เป็นผู้บริหารสตรีเป็นประธานกลุ่มเจ้าหน้าที่บริหารลีโอ เบอร์เนทท์



ซึ่งเป็นบริษัททำโฆษณาระหว่างประเทศ คุณพรศิริ โรจน์เมธา จบการศึกษาด้านการศึกษา แต่ทำงานด้านการศึกษาเพียง 1 ปี

- Culture ของบริษัทคือทำให้ดีที่สุด : หากไขว่คว้ามือจะไม่เปื้อนโคลน

- มีจุดหมายชัดเจนทุกๆปี

- การทำงานต้องให้รางวัลคนทำดี ทุกปีจะมีการจัดงาน Dream เป็น Breakfast ให้รางวัลคนทำดี

- ถ้าทำงานแล้วไม่ดี ต้องรู้ว่าไม่ดีตรงไหน และจะทำจุดใดให้ดีกว่าเดิม

- 2% ของกำไรใช้ใน Training และดูงาน







6.14 คุณโชค บูลกุล กรรมการผู้จัดการกลุ่มบริษัทฟาร์มโชคชัย เป็นบุตรคนโตของตระกูลโชคชัย ซึ่งเป็นตระกูลเชื้อสายจีน จึงจำเป็นจะต้องดำเนินธุรกิจของตระกูลต่อไป ทั้งๆที่ไม่ได้รักธุรกิจนี้ และประสบความสำเร็จในการทำให้ธุรกิจเดิมเป็นธุรกิจที่ตนรัก

- โดยการไม่มองด้านตรงของธุรกิจดั้งเดิม สิ่งที่เก่าสุด เช่น ฟาร์มโค อาจจะเป็นสิ่งใหม่สุด

- จะทำอะไรที่จะเสริมธุรกิจดั้งเดิม

- มองให้ได้ธุรกิจที่ได้ผลประโยชน์แต่ต้องมีจริยธรรมเสมอ

- พื้นฐานและจุดยืนของธุรกิจสำคัญที่สุด

- ต้องรู้ความสามารถของตัวเอง

- อย่าพยายามเปรียบเทียบตัวเองหรือธุรกิจตัวเองกับคนอื่น แต่ต้องมีBench Marking เพราะจะทำให้รู้



สึกด้อย (จะขาดความทะเยอทะยาน) เพราะคนเราเกิดมาไม่เหมือนกัน ไหวพริบสอนกันไม่ได้

- ฟาร์มโชคชัยต้องการพนักงานที่คิดแบบเด็ก แต่ทำงานแบบผู้ใหญ่ : ฝันก่อนแล้วทำจริงด้วยการวางแผน

- การสัมมนาของฟาร์มโชคชัยเพื่อ Confirm ว่าคิดถูกหรือไม่ ไม่ใช่ copy

- การทำธุรกิจต้องออม Cash Flow (กระแสเงินสด) สำคัญไม่แพ้ Asset (สินทรัพย์)

• การท่องเที่ยวสู่ธรรมชาติจะเป็น Future of Future ของธุรกิจ

• ทำธุรกิจในการ Support ไม่ใช่ธุรกิจการแข่งขัน



6.15 อาจารย์เสน่ห์ ศรีสุวรรณ Talk Show : Reinventing Leadership For the Future (สัมพันธ์ใหม่ในความเป็นผู้นำเพื่ออนาคต)

1. ผู้นำจะต้องมีข้อมูล (เตรียมข้อมูลให้พร้อมใช้งาน) มีความรู้ในเรื่องนั้นๆ มี Wisdom (มีความรอบรู้ รอบคอบ สุขุม) จึงจะแก้ปัญหาหรือพัฒนางานนั้นๆได้ และจะขับเคลื่อนงานได้ตลอดไป หากมีคุณสมบัติต่างๆเหล่านี้

1.1 Challenge : ท้าทาย / คึกคัก

1.2 Insight : มี Vision ปลุก Vision

1.3 Enduring : ทำให้องค์กรยั่งยืน ด้วยการ Coaching, Training คนเพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนองค์กร

1.4 Modeling : ทำตนเป็นแบบอย่าง / แบบฉบับ

1.5 Encourage : ปลุกคน / สนับสนุน / ช่วยเหลือให้คนทำงาน

2. สิ่งที่ผู้นำไทยต้องมี

2.1 มีวินัย : ตรงเวลา

2.2 โปร่งใส : ตรงไปตรงมา เพื่อสร้างสัมพันธ์ใหม่ในความเป็นผู้นำเพื่ออนาคต

3. ผู้นำไทยในอนาคตต้องมีอย่างน้อย 3 ภาษา

3.1 ภาษาไทย เพื่อแสดงเอกลักษณ์ / เอกราช / ความภาคภูมิใจ

3.2 ภาษาต่างประเทศ ที่เป็นสากลเพื่อสะดวกในการเสาะแสวงหาความรู้

3.3 ภาษาคอมพิวเตอร์ เพราะจำเป็นกับการดำรงชีวิตและการทำงานในอนาคต

เลิกงานเวลา 21.30 น.

4. จุดเด่นของการบริหารงานของ CEO คือ รวดเร็ว/ ฉับไว/ คึกคัก และจะ Drive Result ได้ดีหาก

- มี Board ที่ดีและเข้มแข็ง

- มี Strategy ที่สอดคล้องกับนโยบาย Board

- มี Value ขององค์กรที่สอดคล้องกับงาน/ ธุรกิจ



6.6 ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึง การบริหารแบบบูรณาการภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ชาติ ว่า

1. ปัจจัยความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เกิดจากผู้บริหารต้องสร้างหรือใช้ปัจจัยต่อไปนี้เพื่อขับเคลื่อนไปสู่ความสำเร็จสร้างโอกาสมากกว่าจะรอโอกาสมาถึงก่อนจึงจะลงมือทำ รวมทั้งต้องขจัด ความเหลื่อมล้ำหรือ ความไม่เท่าเทียมความแข็งแกร่งเชิงยุทธศาสตร์ ทำงานอย่างมีชั้นเชิงวางแผนล่วงหน้า มีการลง ทุนทางปัญญา มีงานวิจัย ใช้ นักวิทยาศาสตร์นักวิชาการมาช่วยค้นคิด ความสามารถในการบริหารจัดการ ต้องบริหารอย่างมืออาชีพ

2. บุคลิกนักบริหาร

- เรียนรู้สิ่งใหม่/ รับฟัง/ อ่านตำราใหม่ ๆ ผู้บริหารที่อ่านมากจะรู้มาก ก้าวทันโลกวิทยาการ

- รู้จักเลือกใช้คน ใช้คนให้เหมาะกับความรู้ความสามารถ

- มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ช่วยป้องกันการตัดสินใจที่อาจผิดพลาด

- สื่อสารให้ทีมงานเข้าใจได้ กระจายข้อมูลที่จำเป็นให้ทุกคนรับรู้อย่างทั่งถึงและรวดเร็ว

- สร้างเศรษฐกิจชุมชนไปสู่การแข่งขันตลาดโลกจากการกสร้างเศรษฐกิจในครัวเรือนให้พอมีพอ



เพียง ไปสู่การทำมาค้าขายในระดับท้องถิ่นไปจนถึงก้าวเข้าสู่ตลาดระหว่างประเทศ

- ผู้นำต้องมีผู้ตาม ผู้บริหารต้องสามารถทำงานและกำกับควบคุมให้ผู้อื่นทำงานด้วย

- ผู้นำต้องสร้างคน ต้องสร้างผู้บริหารไว้หลายระดับ มีตัวตายตัวแทนหมุนเวียนให้คนรุ่นใหม่ก้าวเข้า



มาแทนเพื่อตัวเองสามารถก้าวให้สูงขึ้น

- ผู้นำต้องคิดให้ทะลุ มองปัญหาไว้ตั้งแต่การป้องกัน การแก้ไข กระบวนการทำงานทุกขั้นตอน

3.ให้พัฒนาคุณภาพของตัวผู้บริหาร ดังที่เต๋า เต็ก เก็ง เคยเขียนไว้ว่า ผู้นำที่คุณภาพต่ำสุด คือ ผู้นำที่ทุกคนเกลียด ผู้นำที่ดีขึ้นมาบ้าง คือ ผู้นำที่ทุกคนกลัว ผู้นำที่ดีมาก คือ ผู้นำที่ทุกคนรัก ผู้นำที่เก่งที่สุด คือ ผู้นำที่ทุกคนทำตามโดยไม่ต้องบอก

6.7 Prof. Neal Thornberry วิทยากรชาวต่างประเทศอีกผู้หนึ่งได้กล่าวถึง ผู้บริหารต้องเป็นผู้นำในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ซึ่ง มี 4 ขั้นตอน เหมือนห้องในบ้านที่กำลังมีการซ่อมแซม

1. ไม่เห็นด้วยไม่ตอบ ไม่รู้ไม่เข้าใจว่าอะไรกำลังเกิดขึ้นไม่ มีปฏิกิริยาต่อต้านj

2. ไม่เห็นด้วยและต่อต้าน ไม่พอใจในสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น จึงโต้แย้ง

3. อยากเปลี่ยนแต่ไม่รู้จะทำอะไร พร้อมที่จะให้ความร่วมมือแต่ทำอะไรไม่ถูกเพราะขาดข้อมูลผู้ชี้แนะ

4. ทุกคนเข้าใจยอมเปลี่ยนแปลงและร่วมลงมือ ยินดีปรับตัวช่วยกันด้วยความพอใจ ผู้บริหารที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงจึงต้องเข้าใจขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลง และรู้ว่าในขณะนี้องค์กรที่ตนเองเป็นผู้นำอยู่ กำลังอยู่ในสภาพใดของกระบวนการ เพื่อจะได้รับมือได้เหมาะสม

6.8 ศาสตราจารย์ดร. ชัยอนันต์ สมุทวนิช นักบริหารและนักคิด ราชบัณฑิตคนสำคัญได้ ให้ความสำคัญกับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างส่วนกลางภูมิภาคและท้องถิ่น เพื่อผู้บริหารจักได้ใช้กลไกการบริหารในระบบปฏิรูปใหม่ได้ดี

1. ระบบราชการใหม่ได้เกิดการปฏิรูปโครงสร้างใหม่ของระบบราชการไทย เกิดโครงสร้างใหม่ 20 กระทรวง ตั้งแต่ 3 ตุลาคม 2545ทำให้ส่วนราชการไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของระบบราชการไทย

2. ระบบบริหารจัดการที่ปฏิรูปคือ การจัดการสร้างเครือข่ายนโยบายและการบูรณาการ ผู้บริหารต้องเข้าใจว่าการทำงานของส่วนราชการคือการเป็นผู้นำนโยบายสาธารณะที่เกิดจากฝ่ายการเมืองหรือรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติจริง ซึ่งต้องใช้ความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน จากหลายนโยบาย ในหน่วยงานหลายระดับและพื้นที่ ผู้บริหารราชการยุคใหม่จึงต้องเข้าใจวิธีทำงานรูปแบบใหม่ที่ต้องสร้างความเชื่อมโยงหลายเรื่องให้ผสมผสานอย่างพอเหมาะ

3. การบริหารองค์กรแบบเครือข่าย

1) องค์กรทำงานในหลายระดับตั้งแต่ ระดับโลก ภูมิภาค/ อนุภูมิภาค ชาติ/ จังหวัด ไปจนถึงระดับท้องถิ่นหรือ ชุมชน

2) เครือข่ายทำงานมีหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่แบบปกติ เครือข่ายทางสังคม นวัตกรรม ความรู้ กลยุทธ์ การเรียนรู้ การเมือง และเครือข่ายจิตวิญญาณ

4. ผู้บริหารแบบบูรณาการ ได้แก่ คือการรู้จักผสมระหว่างเทคนิคต่างๆตั้งแต่ การมีบทบาทเป็นผู้นำ การระดมความคิดจากภาคี การพัฒนาทุนทางสังคม และการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่าย

6.9 ดร. วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้เน้นถึง การปฏิรูประบบบริหารงานภาครัฐ

1. การปฏิรูประบบราชการไทย มี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่1การปฏิรูปโครงสร้างภาครัฐ ขั้นตอนที่2 การปฏิรูปวิธีปฏิบัติราชการ และขั้นตอนที่3การปฏิรูปการจัดการทรัพยากร ซึ่งในปี พศ.2545ถึง2546ได้เข้าสู่ขั้นตอนที่1 และจะได้ขยายผลในขั้นตอนต่อไปในปีพศ.2547

2. การปฏิรูป โครงสร้างภาครัฐ โครงสร้างใหม่ของระบบราชการไทยประกอบด้วยโครงสร้าง 4 ลักษณะ ได้แก่1) กระทรวง กลุ่มภารกิจ กรม2) องค์การมหาชน3) รัฐวิสาหกิจ และ4) หน่วยพิเศษ องค์กรอิสระ

3. วิธีปฏิบัติราชการ แนวทางการทำงานในระบบราชการยุคใหม่ประกอบด้วย

1) การพัฒนาผู้นำ/ การบริหารการเปลี่ยนแปลง คือ ต้องเริ่มจากตัวผู้บริหารทุกระดับต้องพัฒนาตนเองให้เข้าใจการเป็นผู้นำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีกระบวนการและมีชั้นเชิง โดยใช้

-การกำหนด เป้าหมายขององค์กรและการเปลี่ยนแปลง - มีกุศโลบายมีขั้นตอนของการทำงานที่ดี

-สร้างความคาดหมายความคาดหวังเพื่อให้ทุกคนเกิดกำลังใจ - กำหนดความรับผิดชอบกระจายภาระหน้าที่ซึ่งคำนึงถึงผลที่จะเกิดติดตามมา - กระจายอำนาจ แบ่งงานไปช่วยกันดำเนินการ - จัดสรรงบประมาณที่ประหยัดและเกิดประโยชน์คุ้มค่า

2) การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี การบริหารราชการไทยต้องมีหลักการ - คำนึงถึง ประโยชน์สุขแก่ประชาชน - มุ่งผลสัมฤทธิ์ ทำงานมุ่งสู่ผลสำเร็จตามเป้าหมาย - ประเมินผลให้คุณและโทษ - ปรับปรุงประสิทธิภาพหน่วยงาน - บริการการให้สะดวกและเชื้อเชิญ - มีประสิทธิภาพและคุ้มค่า – ลดขั้นตอนเวลาที่ยาว/ยุ่ง

4. การจัดการทรัพยากร

1)การบริหารงานบุคคล จะไม่เพิ่มอัตรากำลัง จัดระบบบุคลากรพิเศษได้แก่การกำหนดระบบการจ้างงานในตำแหน่งพนักงานราชการ และการปรับค่าตอบแทนที่เหมาะสม

2)การบริหารจัดการทรัพย์สิน จะใช้มาตรการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน การปรับปรุงสถานที่ทำงานของหน่วยราชการให้เป็นศูนย์ราชการ และปรับวิธีจัดซื้อจัดจ้างรูปแบบใหม่

3)การบริหารจัดการงบประมาณ ปรับปรุงระบบให้เริ่มจากการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ โดยมีเป้าหมายและยุทธศาสตร์ และเปลี่ยนแปลงวิธีการงบประมาณใหม่ตามระเบียบบริหารงบประมาณใหม่ฉบับปีพศ.2546

4) การปรับปรุงงานด้านกฏหมาย ให้คำนึงถึงสถานะทางกฎหมายที่ต้องใช้ในการบริหารราชการ โดยต้องจัดให้ มีแผนนิติบัญญัติ และปรับกฎหมายให้ทันสมัย เนื่องจากมีกฎหมายค้างการพิจารณาหลายฉบับ และต้องร่างกฎหมายใหม่ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง

6.10 นายธนินทร์ เจียรวนนท์ นักธุรกิจที่ประสพความสำเร็จสูงจากการบริหารบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ได้เล่าประสพการณ์ในการทำงานไว้ดังนี้

1. การบริหารแบบครอบครัวซึ่งเป็นการบริหารงานธุรกิจแบบดั้งเดิมนั้น ในปัจจุบันก้าวไม่ทันกับการแข่งขันในโลกยุคใหม่ การบริหารยุคนี้ต้องใช้คนเก่งมาช่วย ดังนั้นบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์จึงใช้ยุทธศาสตร์ "คนเก่งของโลกเป็นของ ซี.พี."

2. ตลาดยุคใหม่เน้นธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและการบริการ อาชีพชั้นแนวหน้าที่เป็นผลเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ ได้แก่ อาชีพทางด้านกฎหมาย การเงิน สุขภาพผู้สูงอายุ ธุรกิจขนส่ง และธุรกิจการบรรจุภัณฑ์

3. การบริหารจัดการต้องสร้างเครือข่ายการขาย เช่น การซื้อขายผ่าน e-commerce การบริการขนส่งที่สะดวก และต้องวิจัยเพื่อพัฒนาให้ได้สินค้าและบริการที่ลูกค้าต้องการ

4. ผู้บริหารที่ดี ต้องมีคุณลักษณะดังนี้ - มีภาวะผู้นำ - รู้จักใช้คนเก่ง คือ ให้อำนาจ ให้เกียรติ ค่าตอบแทนที่เหมาะสม - ทำงานรวดเร็ว - ลดขั้นตอนมิให้ซับซ้อนยุ่งยาก - หมุนเวียนผู้บริหารทุก 4-8 ปี ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเรียนรู้งานลักษณะอื่น

6.11 นายบุญคลี ปลั่งศิริ ประธานบริษัทในเครือของธุรกิจกลุ่มชินคอร์ป ได้เปรียบเทียบผู้บริหารในระบบราชการกับระบบธุรกิจมีความแตกต่างที่ผู้บริหารราชการ สามารถนำไปพัฒนาตนเอง ดังนี้

1.ผู้บริหาร เป็น ผู้นำการเปลี่ยนแปลงจึงต้องปรับปรุงตนเองให้มีศักยภาพที่เหมาะสม

1.1 วิสัยทัศน์ที่ดี คือ ยืดหยุ่น ตรงกับภารกิจหลัก มุ่งเพื่ออนาคต และท้าทายคนในองค์กร

1.2 ภารกิจ สนองต่อการนำวิสัยทัศน์สู่เป้าหมาย

1.3 ยุทธศาสตร์ รัฐกับธุรกิจแตกต่างกัน

1.4. การบริหารจัดการมี 4 ขั้นตอน 1) กำหนดทิศทาง/ วิสัยทัศน์ 2) กำหนดตัวชี้วัด

3) มีแผนปฏิบัติงานและแผนการเงิน 4) มีการประเมินผลตามข้อตกลงร่วมกัน

1.5. การบริหารจัดการที่ดีใช้ทฤษฎี 7's Model - Structure (โครงสร้าง)



- Shared Vision (วิสัยทัศน์) - Strategy (มียุทธศาสตร์)

- Styles (ลีลาเฉพาะ) - System (ระบบ)

- Staff (ทีม) - Skills (ทักษะ)

1.6. งานของผู้บริหาร

- เป็นทั้ง 5 อย่างในจังหวะ/ เวลาที่เหมาะสม ได้แก่ นายผู้จัดการ ผู้ควบคุม ผู้นำ และ เถ้าแก่

- แก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา หน้าที่ของผู้บริหารคือการแก้ปัญหา

- ชั่งน้ำหนักระหว่างของหรือกระบวนการสองสิ่งเพื่อให้ได้ผลงานที่ดีที่สุด เช่นการรู้จัก



เลือกระหว่าง - นักคิดกับนักทำ - ส่วนกลางกับท้องถิ่น - นามธรรมกับรูปธรรม

- ปริมาณกับคุณภาพ - โอกาสกับความเสี่ยง



- ศาสตร์กับศิลป์ - กระบวนการกับผลงาน

1.7. สิ่งต้องระวังของผู้บริหาร - คิดว่าตนเองเก่งแล้วไม่ต้องพัฒนา



- ยิ่งผลัก ปฏิกิริยาโต้กลับจะยิ่งแรงและเร็ว



- บางคนกลัวความล้มเหลวจนเกินพอดี











6.12 คุณทศ จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท เซ็นทรัลรีเทล คอร์เปเรชั่น จำกัด เป็นบุตร คนสุดท้อง ( คนที่ 10 : ทศ ) ของตระกูลจิราธิวัฒน์ บริหารงานบริษัทย่อย 9 บริษัท รวมทั้งห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัล และบิ๊กซี พนักงาน 28,000 คน รายได้ 40,000 ล้านบาทต่อปี

- ชมชอบวิธีการทำงานของนายกรัฐมนตรี ดร.ทักษิณ ชินวัตร คือ Stepแรก ดึงคนส่วนมากให้มีฐานะ ดีขึ้น และStepต่อมา ดึงเพื่อนบ้านขึ้น

- การทำงานที่สำคัญที่สุดคือทำให้ดีที่สุดและขยายโอกาสให้ได้รับผลประกอบการโตขึ้น 2 เท่าของ



GDP

- หลักการทำงาน : CEO ต้องทำให้บริษัทโตต่อเนื่องมองไป 3 ปี 5ปีข้างหน้าให้คนภูมิใจในบริษัท

- เป้าหมายชัดเจนและเดินสู่เป้าหมาย

- กลยุทธ์ Aggressive : เร็วและรุก

- ปัญหาเป็นเพียงสิ่งท้าทาย (ปัญหาทุกอย่างแก้ได้หมด) ถ้าแก้ไม่ได้ถามเพื่อน

- ข้อมูลไม่มีถูก 100% การตัดสินใจไม่จำเป็นต้องถูก 100% ที่สำคัญที่สุดคือต้องพัฒนาไปให้ต่อเนื่อง

- คนถือว่าเป็นMassที่สำคัญ การบริหารคนยึด Benefit(ประโยชน์) Conversation (การปฏิสันถาร) และ



Training คนถ้า 10 ปี ไม่ติดตามนวัตกรรมจะหลุดโลก

- ต้องทำให้พนักงานบริษัทเข้าใจ Mission Vision และ Strategy ของบริษัท

- Strategy ของบริษัทเน้นผลประกอบการ ระบบงาน และความเป็นอยู่ของพนักงานคือ GBEST :



Growth, Brand, Efficiency, System และ Training

6.13 คุณพรศิริ โรจน์เมธา เป็นผู้บริหารสตรีเป็นประธานกลุ่มเจ้าหน้าที่บริหารลีโอ เบอร์เนทท์



ซึ่งเป็นบริษัททำโฆษณาระหว่างประเทศ คุณพรศิริ โรจน์เมธา จบการศึกษาด้านการศึกษา แต่ทำงานด้านการศึกษาเพียง 1 ปี

- Culture ของบริษัทคือทำให้ดีที่สุด : หากไขว่คว้ามือจะไม่เปื้อนโคลน

- มีจุดหมายชัดเจนทุกๆปี

- การทำงานต้องให้รางวัลคนทำดี ทุกปีจะมีการจัดงาน Dream เป็น Breakfast ให้รางวัลคนทำดี

- ถ้าทำงานแล้วไม่ดี ต้องรู้ว่าไม่ดีตรงไหน และจะทำจุดใดให้ดีกว่าเดิม

- 2% ของกำไรใช้ใน Training และดูงาน







6.14 คุณโชค บูลกุล กรรมการผู้จัดการกลุ่มบริษัทฟาร์มโชคชัย เป็นบุตรคนโตของตระกูลโชคชัย ซึ่งเป็นตระกูลเชื้อสายจีน จึงจำเป็นจะต้องดำเนินธุรกิจของตระกูลต่อไป ทั้งๆที่ไม่ได้รักธุรกิจนี้ และประสบความสำเร็จในการทำให้ธุรกิจเดิมเป็นธุรกิจที่ตนรัก

- โดยการไม่มองด้านตรงของธุรกิจดั้งเดิม สิ่งที่เก่าสุด เช่น ฟาร์มโค อาจจะเป็นสิ่งใหม่สุด

- จะทำอะไรที่จะเสริมธุรกิจดั้งเดิม

- มองให้ได้ธุรกิจที่ได้ผลประโยชน์แต่ต้องมีจริยธรรมเสมอ

- พื้นฐานและจุดยืนของธุรกิจสำคัญที่สุด

- ต้องรู้ความสามารถของตัวเอง

- อย่าพยายามเปรียบเทียบตัวเองหรือธุรกิจตัวเองกับคนอื่น แต่ต้องมีBench Marking เพราะจะทำให้รู้



สึกด้อย (จะขาดความทะเยอทะยาน) เพราะคนเราเกิดมาไม่เหมือนกัน ไหวพริบสอนกันไม่ได้

- ฟาร์มโชคชัยต้องการพนักงานที่คิดแบบเด็ก แต่ทำงานแบบผู้ใหญ่ : ฝันก่อนแล้วทำจริงด้วยการวางแผน

- การสัมมนาของฟาร์มโชคชัยเพื่อ Confirm ว่าคิดถูกหรือไม่ ไม่ใช่ copy

- การทำธุรกิจต้องออม Cash Flow (กระแสเงินสด) สำคัญไม่แพ้ Asset (สินทรัพย์)

• การท่องเที่ยวสู่ธรรมชาติจะเป็น Future of Future ของธุรกิจ

• ทำธุรกิจในการ Support ไม่ใช่ธุรกิจการแข่งขัน



6.15 อาจารย์เสน่ห์ ศรีสุวรรณ Talk Show : Reinventing Leadership For the Future (สัมพันธ์ใหม่ในความเป็นผู้นำเพื่ออนาคต)

1. ผู้นำจะต้องมีข้อมูล (เตรียมข้อมูลให้พร้อมใช้งาน) มีความรู้ในเรื่องนั้นๆ มี Wisdom (มีความรอบรู้ รอบคอบ สุขุม) จึงจะแก้ปัญหาหรือพัฒนางานนั้นๆได้ และจะขับเคลื่อนงานได้ตลอดไป หากมีคุณสมบัติต่างๆเหล่านี้

1.1 Challenge : ท้าทาย / คึกคัก

1.2 Insight : มี Vision ปลุก Vision

1.3 Enduring : ทำให้องค์กรยั่งยืน ด้วยการ Coaching, Training คนเพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนองค์กร

1.4 Modeling : ทำตนเป็นแบบอย่าง / แบบฉบับ

1.5 Encourage : ปลุกคน / สนับสนุน / ช่วยเหลือให้คนทำงาน

2. สิ่งที่ผู้นำไทยต้องมี

2.1 มีวินัย : ตรงเวลา

2.2 โปร่งใส : ตรงไปตรงมา เพื่อสร้างสัมพันธ์ใหม่ในความเป็นผู้นำเพื่ออนาคต

3. ผู้นำไทยในอนาคตต้องมีอย่างน้อย 3 ภาษา

3.1 ภาษาไทย เพื่อแสดงเอกลักษณ์ / เอกราช / ความภาคภูมิใจ

3.2 ภาษาต่างประเทศ ที่เป็นสากลเพื่อสะดวกในการเสาะแสวงหาความรู้

3.3 ภาษาคอมพิวเตอร์ เพราะจำเป็นกับการดำรงชีวิตและการทำงานในอนาคต

เลิกงานเวลา 21.30 น.

4. จุดเด่นของการบริหารงานของ CEO คือ รวดเร็ว/ ฉับไว/ คึกคัก และจะ Drive Result ได้ดีหาก

- มี Board ที่ดีและเข้มแข็ง

- มี Strategy ที่สอดคล้องกับนโยบาย Board

- มี Value ขององค์กรที่สอดคล้องกับงาน/ ธุรกิจ

ที่ 7:00

ใบงานที่ ๑๒

ใบงานที่ 12 การใช้งานโปรแกรม SPSS for Window


ส่วนประกอบหลักของ SPSS FOR WINDOWS

Ø Title Bar บอกชื่อไฟล์

Ø Menu Bar คำสั่งการทำงาน

Ø Cell Editor กำหนดค่าตัวแปร

Ø Cases ชุดของตัวแปร

Ø Variable กำหนดชื่อตัวแปร

Ø View Bar มีสองส่วน

1. Variable View สร้างและแก้ไขโครงสร้างตัวแปร

2. Data View เพิ่มและแก้ไขตัวแปร

Ø Status Bar แสดงสถานการณ์ทำงาน



การเปิด SPSS Data Editor

ไปที่ File -> New -> Data แล้วกำหนดชื่อและรายละเอียดจากหน้าจอ Variable View ป้อนข้อมูล Data View บันทึกข้อมูล File -> Save



การกำหนดชื่อและรายละเอียดตัวแปร

ที่หน้าจอ SPSS Data Editor เรียกหน้าจอ Variable View ทำได้ 2 วิธี

1. ดับเบิลคลิกตรงคอลัมน์ของบรรทัดแรก

2. คลิกแถบ Variable View ที่อยู่ด้านล่าง

เมื่อได้หน้าต่างของ Variable View

1. Name ชื่อตัวแปร ให้พิมพ์ตรงคอลัมน์ Name เช่น Sex

2. Type ประเภทของตัวแปร เลือก Numeric Width=1 Decimal Places=0 คลิกปุ่ม OK

3. Label กำหนดข้อความขยายชื่อตัวแปร เพื่ออธิบายชื่อตัวแปรและแสดงออกทางผลลัพธ์ ให้พิมพ์ตรงคอลัมน์ Label เช่น เพศ

4. Values กำหนดคำอธิบายให้กับค่าตัวแปร

5. Missing กำหนดค่าที่ไม่นำไปวิเคราะห์ มี 2 แบบ

5.1 User Missing ผู้วิจัยเป็นผู้กำหนด เช่น 9, 99, 999, …

5.2 System Missing โปรแกรมจะกำหนดให้เอง

6. Column จำนวนความกว้างของคอลัมน์ คือจำนวนความกว้างมากสุดของ ค่าตัวแปร หรือ ชื่อตัวแปร หรือ label ตัวแปร .จากตัวอย่าง ชื่อตัวแปร และ label ตัวแปร มีความกว้างมากสุดเท่ากับ 3 ให้พิมพ์ 4 (ความกว้างมากสุดเท่ากับ 3 บวกเผื่อไว้ 1)

7. Align ให้แสดงค่าตัวแปร ชิดซ้าย กึ่งกลาง ชิดขวา

8. Measure ระดับการวัดของข้อมูล

8.1 Scale (Interval, Ratio)

8.2 Ordinal

8.3 Nominal

ให้กำหนดชื่อและรายละเอียดของตัวแปรให้ครบทุกตัว



การวิเคราะห์ข้อมูล

1. คลิกที่เมนู Analyze เลือก Descriptive Statistic และเลือก Frequencies

2. จากนั้นเราจะได้กรอบ Frequencies กรอบ Frequencies ทางช่องซ้ายมือเป็นตัวแปรต่างๆ ที่ได้จากแบบสอบถาม ทางช่องขวามือจะเป็นส่วนเลือกตัวแปรเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล

3. เราจะเลือกตัวแปรโดยการคลิกที่ตัวแปรที่ต้องการวิเคราะห์ทางซ้ายมือ จากนั้นคลิกปุ่มเลือก(สามเหลี่ยมสีดำ)ตัวแปรที่ต้องการวิเคราะห์ก็จะตกไปอยู่ทางช่องขวามือ ในที่นี้ให้เลือกทั้งหมดทุกตัวแปร

4. คลิกปุ่ม Statistics แล้วจะได้กรอบ Frequencies Statistics

5. เลือกประเภทการวิเคราะห์ข้อมูล ในที่นี้เราจะวิเคราะห์ Central Tendency และ Dispersion โดยส่วน Central Tendency เลือก Mean, Median, Mode, Sum และส่วน Dispersion เลือก Std. deviation, Minimum, Maximum เลือกเสร็จเรียบร้อยแล้วให้คลิกปุ่ม Continue เมื่อคลิกปุ่ม Continue จะกลับมาที่กรอบ Frequencies Statistics

6. ต่อไปให้คลิกปุ่ม Charts จะได้กรอบ Frequencies Charts ในส่วน Frequencies Charts นี้ท่านสามารถเลือก Chart Type ว่าต้องการเป็น Charts ชนิดใด ในที่นี้ให้เลือก Bar charts แล้วคลิก Continue

7. เมื่อคลิกปุ่ม Continue จะกลับมาที่กรอบ Frequencies Statistics ดังภาพ จากนั้นคลิกปุ่ม OK ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล

ที่ 8:40

ใบงานที่ 8

ใบงานที่ 8 ศึกษา Web วัดผลดอทคอม

1. ความหมายของสถิติสถิติ หมายถึง ศาสตร์หรือวิชาที่ว่าด้วย การเก็บรวบรวมข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลมาสรุป

2. ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ฐานนิยม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

2.1 ค่าเฉลี่ย (Mean) หรือเรียกว่าค่ากลางเลขคณิต ค่าเฉลี่ย ค่ามัชฌิมเลขคณิต เป็นต้น ความหมายเป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย

2.2 มัธยฐาน (Median) คือ คะแนนที่อยู่ตรงกลางที่แบ่งคะแนนออกเป็นสองกลุ่มเท่า ๆ กัน ทำโดยนำคะแนนที่ได้มาเรียงตามลำดับจากมากไปน้อยหรือจากน้อยไปหามาก มักเขียนแทนด้วย Mdn เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย

2.3 ฐานนิยม (Mode) คือ ค่าที่ซ้ำกันมากที่สุดหรือที่มีความถี่มากที่สุด เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย

2.4 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เป็นการวัดการกระจายที่นิยมใช้กันมากเขียนแทนด้วย S.D. หรือ S เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย3

3. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

3.1 ประชากร (Population) หมายถึง หน่วยทุกหน่วย (ซึ่งอาจมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้) ที่เรา สนใจเช่น จำนวนคนไทยที่เป็นเพศชาย ประชากรคือคนไทยทุกคนที่เป็นเพศชาย จำนวนรถยนต์ในจังหวัดพิษณุโลก ประชากรคือ รถยนต์ทุกคันที่อยู่ในจังหวัดพิษณุโลก ฯลฯ

3.2 กลุ่มตัวอย่าง (Sample) หมายถึง หน่วยย่อยของประชากรที่เราสนใจ เช่น จำนวนรถยนต์ที่วิ่งในจังหวัดพิษณุโลกซึ่งไม่สามารถจัดเก็บได้ทัน จึงต้องใช้ตัวอย่างซึ่งตัวอย่างจะต้องเป็น รถยนต์ที่กำลังวิ่งอยู่ในจังหวัดพิษณุโลก ฯลฯ

4. ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม

4.1 ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ (Independent Variable) เป็นตัวแปรที่เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดผล หรือก่อให้เกิดการแปรผันของปรากฏการณ์ เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยกำหนดหรือจัดกระทำได้ เพื่อศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากตัวแปรนี้

4.2 ตัวแปรตาม (Dependent Variable) เป็นตัวแปรที่เป็นผลมากจากการเปลี่ยนแปลงค่าของตัวแปรอิสระ เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยมุ่งวัดเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับนำมาวิเคราะห ์เพื่อตอบคำถามของการวิจัยว่าเป็นผลมากจากสิ่งใด

5. สมมุติฐานสมมุติฐาน หมายถึง ข้อความที่ผู้วิจัยคาดหวังหรือคิดเกี่ยวกับความแตกต่างที่อาจจะเป็นไปได้ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ หรือความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ก่อนการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ สมมุติฐานมีอยู่ 2 ประเภทคือ

5.1 สมมุติฐานการวิจัย (Research Hypothesis or Descriptive Hypothesis) เป็นข้อความที่เขียนในลักษณะบรรยาย หรือคาดคะเนคำตอบของการวิจัย ซึ่งข้อความดังกล่าวจะแสดงถึงความเกี่ยวข้องกันของตัวแปรในรูปของความสัมพันธ์ หรือในรูปของความแตกต่างที่ได้คาดคะเนไว้ เช่น การสอนซ่อมเสริมโดยการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน จะทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าการสอนซ่อมเสริมด้วยวิธีปกติ

5.2 สมมุติฐานทางสถิติ (Satirical Hypothesis) เป็นสมมุติฐานที่แปลงรูปจากสมมุติฐานการวิจัยมาอยู่ในรูปแบบทางคณิตศาสตร์ โดยมีการแทนค่าด้วยสัญลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งจะเกิดขึ้น ในกรณีที่ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างและจะอ้างอิงไปสู่กลุ่มประชากร โดยการทดสอบสมมุติฐาน

วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2553

ใบงานที่6