วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

นาฬืกา

วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

rr

วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ใบงานที่5

การศึกษาโปรแกรม SPSS For Windows


สถิตินับเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่องานวิจัย
การคำนวณตัวเลขมากๆที่ต้องการความเที่ยงตรงและรวดเร็วด้วยมือหรือ
เครื่องคิดเลขธรรมดาแทบเป็นไปไม่ได้ การนำคอมพิวเตอร์และโปรแกรมเข้ามาใช้
จึงมีความจำเป็นเทียบได้กับความจำเป็นที่ต้องใช้สถิติในการวิจัย
ในปัจจุบันมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์อยู่เป็นจำนวนมาก แต่ที่นิยมใช้มีอยูุ่่เพียง สอง สามโปรแกรม
SPSS นับเป็นหนึ่งในจำนวนนั้น

SPSS เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติและงานวิจัย ที่มีประวัติการพัฒนามานานหลายสิบปี
มีสถิติให้เลือกใช้หลายประเภท ดังนั้นจึงเป็นที่นิยมของผู้ใช้ทั่วไป
แต่การนำ spss มาใช้โดยที่ผู้ใช้มิได้เริ่มต้นอย่างถูกวิธีย่อมจะทำให้ดูแลยาก
ดังนั้นเวปไซด์นี้จึงเอาความรู้พื็นฐานที่จำเป็นสำหรับการใช้ SPSS มานำเสนอ

ในปัจจุบันมีผู้ใช้โปรแกรม MicroSoft WINDOWS เพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันโปรแกรม
ที่เคยพัฒนาบนระบบคอมพิวเตอร์อื่นๆ ก็หันมาผลิต ซอฟต์แวร์ของตนให้ใช้กับ WINDOWS ได้
บริษัท SPSS Inc. ก็เป็นอีกบริษัทหนึ่งที่ผลิต SPSS FOR WINDOWS ที่สามารถนำเอาจุดเด่นของ
WINDOWS มาใช้ร่วมกับ SPSS ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในขณะที่ยังสามารถรักษาแนวทางการใช้ spss ตามรูปแบบเดิมได้อีกด้วย

ประวัติของ SPSS
SPSS ย่อมาจาก Statistical Package for the Social Sciences เป็นโปรแกรมที่เขียน
ขึ้นมา ตั้งแต่สมัยคอมพิวเตอร์ส่วนบุคลยังไม่มี ดังนั้นลักษณะการทำงานในรุ่นแรกๆ
จะยืนอยู่บนรากฐานของการทำงานแบบดั้งเดิม กล่าวคือ ผู้ใช้จะต้องพิมพ์คำสั่งลงใน
บัตรเจาะรูแล้วส่งให้ผู้คุมเครื่องเป็นคนจัดการทำงานต่อ แต่เมื่อมีกาพัํฒนาเครื่องไมโคร
คอมพิวเตอร์ขึ้น SPSS ก็ได้พัฒนาโปรแกรมสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์โดยออก
SPSS รุ่น pc ที่เรียกว่า SPSS/PC+ และเนื่องจากไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นแรกๆ นิยม
ใช้ระบบปฏิบัติการ MS-DOS ซึ่งยังมีลักษณะการทำงานคล้ายกับเครื่องคอมพิวเตอร์
ขนาดใหญ่ (Mainframe) เพียงแต่ในส่วนคำสั่ง spss ที่เขียนเสร็จแทนที่จะใช้บัตร
เจาะรูแล้วส่งให้ผู้คุมเครื่องเป็นคนสั่งงานต่อ ผู้ใช้จำเป็นจะต้องพิมพ์ข้อมูลลงในแผ่น
ข้อมูลแทนการใช้บัตรเจาะรูและแทนที่จะส่งให้ผู้คุมเครื่องเป็นคนช่วยทำต่อ ผู้ใช้จะต้อง
ทำเองทั้งหมด

ในปัจจุบันระบบปฏิบัติการมีแนวโน้มที่เปลี่ยนไปจาก MS-DOS เป็น WINDOWS
ด้วยเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้ว ดังนั้น spss จึงได้พัฒนาโปรแกรม SPSS ภายใต้
WINDOWS ที่เรียกว่า SPSS FOR WINDOWS ขึ้น และเนื่องจากลักษณะการทำงาน
บน MS-DOS และ WINDOWS มีแนวความคิดที่ต่างกัน กล่าวคือกสรทำงานบน MS-DOS
จะยืนอยู่บนรากฐานของตัวอักษรและการทำงานของซอฟต์แวร์จะไม่มีการแลกข้อมูลระหว่างกัน
(ถ้าจะมีการแลกข้อมูลระหว่างกันก็ทำได้ยาก) แต่สำหรับ WINDOWS แล้ว
จะทำงานอยู่บนรากฐานของกราฟฟิกส์ และมีการแลกข้อมูลข้อมูลระหว่างซอฟต์แวร์
ต่างชนิดที่ทำงานอญุ่ภายใต้ WINDOWS

เมื่อ WINDOWS มีจุดเด่นที่ต่างกันออกไปจาก MS-DOS ดังนั้น SPSS ที่พัฒนาบน
WINDOWS จึงมีลักษณะเด่นที่ต่า่งจาก SPSS/PC+ ก็คือ ใช้กราฟฟิกที่ดีขึ้น
มีการทำงานระหว่างซอฟต์แวต์ที่อยู่บน WINDOWS คำสั่งที่ใช้ง่ายขึ้นแต่ให้รายละเอียด
มากขึ้นกว่าเดิม
สนใจ ดูที่http://student.nu.ac.th/piya_tada/index.html

ใบงานที่ 13


การใช้โปรแกรม SPSS
1. ขั้นตอนการเรียกใช้โปรแกรม
คลิก Start -> All Programs -> SPSS for Windows -> SPSS 11.5 for Windows
หรือ Double Click ไอคอนบนหน้าจอ Windows
2. ส่วนประกอบหลักของ SPSS FOR WINDOWS
เมื่อเปิดโปรแกรมจะได้หน้าต่างที่มีส่วนประกอบดังต่อไปนี้
-Title Bar บอกชื่อไฟล์ เช่น Untitled-SPSS Data Editor (หากเปิดครั้งแรก)
-Menu Bar คำสั่งการทำงาน
-Cell Editor กำหนดค่าตัวแปร
-Cases ชุดของตัวแปร
-Variable กำหนดชื่อตัวแปร
-View Bar มีสองส่วน ได้แก่ Variable View (สร้างและแก้ไขโครงสร้า้งตัวแปร) และ Data View (เพิ่มและแก้ไขตัวแปร)
-Status Bar แสดงสถานการณ์ทำงาน
3. การป้อนข้อมูลจากหน้าจอData Editor
3.1 เปิด SPSS Data Editor โดยไปที่ File -> New -> Data
3.2 กำหนดชื่อและรายละเอียด จากหน้าจอ Variable View
3.3 ป้ิอนข้อมูล Data View
3.4 บันทึกข้อมูล File -> Save
4. การกำหนดชื่อและรายละเอียดของตัวแปรจากหน้าจอ Variable View

ที่หน้าจอ SPSS Data Editor เรียกหน้าจอ Variable View ทำได้ 2 วิธี คือ 1. ดับเบิลคลิกตรงคอลัมน์ของบรรทัดแรก 2. คลิกแถบ Variable View ที่อยู่ด้านล่าง เมื่อได้หน้าต่างของ Variable View แล้วจะเจอ
4.1. Name ชื่อตัวแปร ให้พิมพ์ตรงคอลัมน์ Name เช่น Sex , Age, หรือจะพิมพ์เป็นภาษาไทยก็ได้ตามตัวแปรที่มีอยู่
4.2. Type ประเภทของตัวแปร เลือก Numeric Width =1 Decimal Places=0 คลิกปุ่ม OK
4.3. Label กำหนดข้อความขยายชื่อตัวแปร เพื่ออธิบายชื่อตัวแปรและแสดงออกทางผลลัพธ์ให้พิมพ์ตรงคอลัมน์ Label เช่น เพศ
4.4 Values กำหนดคำอธิบายให้กับค่าตัวแปร
4.5. Missing กำหนดค่าที่ไม่นำไปวิเคราะห์ มี 2 แบบ คือ User Missing ผู้วิจัยเป็นผู้กำหนด เช่น 9, 99, 999, …และ System Missing โปรแกรมจะกำหนดให้เอง
4.6 Column จำนวนความกว้างของคอลัมน์ คือจำนวนความกว้างมากสุดของ ค่าตัวแปร หรือ ชื่อตัวแปร หรือ label ตัวแปร
4.7. Align ให้แสดงค่าตัวแปร ชิดซ้าย กึ่งกลาง ชิดขวา
4.8. Measure ระดับการวัดของข้อมูล ได้แก่ Scale (Interval, Ratio), Ordinal, Nominal ให้กำหนดชื่อและรายละเอียดของตัวแปรให้ครบทุกตัว
5.การป้อนข้อมูลในหน้าต่าง Data View
Data View เป็นแบบตาราง การป้อนข้อมูลจะคล้ายกับ Excel
- บรรทัดแรก จะเป็นชื่อตัวแปร
- บรรทัดต่อไป จะเป็นข้อมูล ดูจำนวนข้อมูล
- ไปรายการสุดท้าย กดปุ่ม Ctrl+End
- กลับไปรายการแรก กดปุ่ม Ctrl+Home
- การ Show Label (View -> Value Labels)
- เรียบร้อยแล้วเราก็ทำการ Save ข้อมูลโดยการกดคลิกที่ปุ่ม Save จะได้กรอบ Save data กำหนดสถานที่จัดเก็บข้อมูลในช่อง Save in และกำหนดชื่อ File ในช่อง File name File ที่ได้จะมีนามสกุลเป็น sav
6. การวิเคราะห์ข้อมูล
6.1 คลิกที่เมนู Analyze เลือก Descriptive Statistic และเลือก Frequencies
6.2 จากนั้นเราจะได้กรอบ Frequencies กรอบ Frequencies ทางช่องซ้ายมือเป็นตัวแปรต่างๆ ที่ได้จากแบบสอบถาม ทางช่องขวามือจะเป็นส่วนเลือกตัวแปรเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล
6.3 เราจะเลือกตัวแปรโดยการคลิกที่ตัวแปรที่ต้องการวิเคราะห์ทางซ้ายมือ จากนั้นคลิกปุ่มเลือก(สามเหลี่ยมสีดำ)ตัวแปรที่ต้องการวิเคราะห์ก็จะตกไป อยู่ทางช่องขวามือ ในที่นี้ให้เลือกทั้งหมดทุกตัวแปร
6.4 คลิกปุ่ม Statistics แล้วจะได้กรอบ Frequencies Statistics
6.5 เลือกประเภทการวิเคราะห์ข้อมูล ในที่นี้เราจะวิเคราะห์ Central Tendency และ Dispersion โดยส่วน Central Tendency เลือก Mean, Median, Mode, Sum และส่วน Dispersion เลือก Std. deviation, Minimum, Maximum เลือกเสร็จเรียบร้อยแล้วให้คลิกปุ่ม Continue เมื่อคลิกปุ่ม Continue จะกลับมาที่กรอบ Frequencies Statistics
6.6. ต่อไปให้คลิกปุ่ม Charts จะได้กรอบ Frequencies Charts ในส่วน Frequencies Charts นี้ท่านสามารถเลือก Chart Type ว่าต้องการเป็น Charts ชนิดใด ในที่นี้ให้เลือก Bar charts แล้วคลิก Continue
6.7 เมื่อคลิกปุ่ม Continue จะกลับมาที่กรอบ Frequencies Statistics ดังภาพ จากนั้นคลิกปุ่ม OK ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล

การลิงค์ gotoknowhttp://gotoknow.org/blog/dangim

http://gotoknow.org/blog/dangim

ใบงานที่14เปรียบเทียบ blog

คำสั่ง ข้อเปรียบเทียบระหว่าง blogspot.com  กับ   gotoknow.org ในลักษณะต่าง ๆ
       จากการได้เข้มสัมผัสและเรียนรู้ระหว่าง blogspot.com กับ gotoknow.org แต่ละอย่างมีข้อเด่น ข้อด้อยที่แตกต่างกัน   แต่ในความเห็นส่วนตัวของผู้ตอบ มีความคิดเห็นดังนี้
    1. blogspot นั้นมีรูปแบบที่หลากหลายและสามารถสร้าง web page ที่มีสีสันมากกว่า
    2. gotoknow นั้นสร้างง่ายกว่าและไม่ยุ่งยาก ผู้ทำมีความรู้พื้นฐานก็สามารถทำได้
    3.การตกแต่งหน้า web blog  นั้น gotoknow ตกแต่งง่ายกว่า แต่เพิ่มสีสันไดน้อยกว่า
    4.gotoknow นิยมใช้มากในด้านการศึกษา หรืองานทั่วไป ส่วน blogspot นั้น จะเพิ่มในภาคธุรกิจมากขึ้นและแพรร่หลาย
    5. กลุ่มผู้ใช้ในระดับพื้นฐานใช่ gotoknow มากว่า แต่กลุ่มระดับกลางถึงสูงใช้ blogspot
ฉะนั้ในความเห็นส่วนตัว คิดว่าผู้ใช้ gotoknow น่าจะพัฒสู่รุปแบบ blogspot



http://gotoknow.org/blog/dangim

วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 4

การจัดการความรู้คืออะไร

การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)
รรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ
1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม

นพ.วิจารณ์ พานิช ได้ให้ความหมายของคำว่า “การจัดการความรู้” ไว้ คือ สำหรับนักปฏิบัติ การจัดการความรู้คือ เครื่องมือ เพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่
1. บรรลุเป้าหมายของงาน
2. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน
3. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้ และ
4. บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน

การจัดการความรู้เป็นการดำเนินการอย่างน้อย 6 ประการต่อความรู้ ได้แก่
(1) การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นหรือสำคัญต่องานหรือกิจกรรมของกลุ่มหรือองค์กร
(2) การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ
(3) การปรับปรุง ดัดแปลง หรือสร้างความรู้บางส่วน ให้เหมาะต่อการใช้งานของตน
(4) การประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจการงานของตน
(5) การนำประสบการณ์จากการทำงาน และการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสกัด “ขุมความรู้” ออกมาบันทึกไว้
(6) การจดบันทึก “ขุมความรู้” และ “แก่นความรู้” สำหรับไว้ใช้งาน และปรับปรุงเป็นชุดความรู้ที่ครบถ้วน ลุ่มลึกและเชื่อมโยงมากขึ้น เหมาะต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น

        โดยที่การดำเนินการ 6 ประการนี้บูรณาการเป็นเนื้อเดียวกัน ความรู้ที่เกี่ยวข้องเป็นทั้งความรู้ที่ชัดแจ้ง อยู่ในรูปของตัวหนังสือหรือรหัสอย่างอื่นที่เข้าใจได้ทั่วไป (Explicit Knowledge) และความรู้ฝังลึกอยู่ในสมอง (Tacit Knowledge) ที่อยู่ในคน ทั้งที่อยู่ในใจ (ความเชื่อ ค่านิยม) อยู่ในสมอง (เหตุผล) และอยู่ในมือ และส่วนอื่นๆ ของร่างกาย (ทักษะในการปฏิบัติ) การจัดการความรู้เป็นกิจกรรมที่คนจำนวนหนึ่งทำร่วมกันไม่ใช่กิจกรรมที่ทำโดยคนคนเดียว เนื่องจากเชื่อว่า “จัดการความรู้” จึงมีคนเข้าใจผิด เริ่มดำเนินการโดยรี่เข้าไปที่ความรู้ คือ เริ่มที่ความรู้ นี่คือความผิดพลาดที่พบบ่อยมาก การจัดการความรู้ที่ถูกต้องจะต้องเริ่มที่งานหรือเป้าหมายของงาน เป้าหมายของงานที่สำคัญ คือ การบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินการตามที่กำหนดไว้ ที่เรียกว่า Operation Effectiveness และนิยามผลสัมฤทธิ์ ออกเป็น 4 ส่วน คือ
(1) การสนองตอบ (Responsiveness) ซึ่งรวมทั้งการสนองตอบความต้องการของลูกค้า สนองตอบความต้องการของเจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้น สนองตอบความต้องการของพนักงาน และสนองตอบความต้องการของสังคมส่วนรวม
(2) การมีนวัตกรรม (Innovation) ทั้งที่เป็นนวัตกรรมในการทำงาน และนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์หรือบริการ
(3) ขีดความสามารถ (Competency) ขององค์กร และของบุคลากรที่พัฒนาขึ้น ซึ่งสะท้อนสภาพการเรียนรู้ขององค์กร และ
(4) ประสิทธิภาพ (Efficiency) ซึ่งหมายถึงสัดส่วนระหว่างผลลัพธ์ กับต้นทุนที่ลงไป การทำงานที่ประสิทธิภาพสูง หมายถึง การทำงานที่ลงทุนลงแรงน้อย แต่ได้ผลมากหรือคุณภาพสูง เป้าหมายสุดท้ายของการจัดการความรู้ คือ การที่กลุ่มคนที่ดำเนินการจัดการความรู้ร่วมกัน มีชุดความรู้ของตนเอง ที่ร่วมกันสร้างเอง สำหรับใช้งานของตน คนเหล่านี้จะสร้างความรู้ขึ้นใช้เองอยู่ตลอดเวลา โดยที่การสร้างนั้นเป็นการสร้างเพียงบางส่วน เป็นการสร้างผ่านการทดลองเอาความรู้จากภายนอกมาปรับปรุงให้เหมาะต่อสภาพของตน และทดลองใช้งาน จัดการความรู้ไม่ใช่กิจกรรมที่ดำเนินการเฉพาะหรือเกี่ยวกับเรื่องความรู้ แต่เป็นกิจกรรมที่แทรก/แฝง หรือในภาษาวิชาการเรียกว่า บูรณาการอยู่กับทุกกิจกรรมของการทำงาน และที่สำคัญตัวการจัดการความรู้เองก็ต้องการการจัดการด้วย

ตั้งเป้าหมายการจัดการความรู้เพื่อพัฒนา
งาน พัฒนางาน
คน พัฒนาคน
องค์กร เป็นองค์กรการเรียนรู้
ความเป็นชุมชนในที่ทำงาน การจัดการความรู้จึงไม่ใช่เป้าหมายในตัวของมันเอง นี่คือ หลุมพรางข้อที่ 1 ของการจัดการความรู้ เมื่อไรก็ตามที่มีการเข้าใจผิด เอาการจัดการความรู้เป็นเป้าหมาย ความผิดพลาดก็เริ่มเดินเข้ามา อันตรายที่จะเกิดตามมาคือ การจัดการความรู้เทียม หรือ ปลอม เป็นการดำเนินการเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่ามีการจัดการความรู้ การริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้ แรงจูงใจ การริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้เป็นก้าวแรก ถ้าก้าวถูกทิศทาง ถูกวิธี ก็มีโอกาสสำเร็จสูง แต่ถ้าก้าวผิด ก็จะเดินไปสู่ความล้มเหลว ตัวกำหนดที่สำคัญคือแรงจูงใจในการริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้

การจัดการความรู้ที่ดีเริ่มด้วย
สัมมาทิฐิ : ใช้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุความสำเร็จและความมั่นคงในระยะยาว
การจัดทีมริเริ่มดำเนินการ
การฝึกอบรมโดยการปฏิบัติจริง และดำเนินการต่อเนื่อง
การจัดการระบบการจัดการความรู้

แรงจูงใจในการริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้ แรงจูงใจแท้ต่อการดำเนินการจัดการความรู้ คือ เป้าหมายที่งาน คน องค์กร และความเป็นชุมชนในที่ทำงานดังกล่าวแล้ว เป็นเงื่อนไขสำคัญ ในระดับที่เป็นหัวใจสู่ความสำเร็จในการจัดการความรู้ แรงจูงใจเทียมจะนำไปสู่การดำเนินการจัดการความรู้แบบเทียม และไปสู่ความล้มเหลวของการจัดการความรู้ในที่สุด แรงจูงใจเทียมต่อการดำเนินการจัดการความรู้ในสังคมไทย มีมากมายหลายแบบ ที่พบบ่อยที่สุด คือ ทำเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่าทำ ทำเพราะถูกบังคับตามข้อกำหนด ทำตามแฟชั่นแต่ไม่เข้าใจความหมาย และวิธีการดำเนินการ จัดการความรู้อย่างแท้จริง

องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้ (Knowledge Process)
1. “คน” ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นแหล่งความรู้ และเป็นผู้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์
2.“เทคโนโลยี” เป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้อย่างง่าย และรวดเร็วขึ้น
3. “กระบวนการความรู้” นั้น เป็นการบริหารจัดการ เพื่อนำความรู้จากแหล่งความรู้ไปให้ผู้ใช้ เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุง และนวัตกรรม
องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ จะต้องเชื่อมโยงและบูรณาการอย่างสมดุล การจัดการความรู้ของกรมการปกครอง จากพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 กำหนดให้ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราขการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมะสมต่อสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน ขอบเขต KM ที่ได้มีการพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความสำคัญเร่งด่วนในขณะนี้ คือ การจัดการองค์ความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการ และได้กำหนดเป้าหมาย (Desired State) ของ KM ที่จะดำเนินการในปี 2549 คือมุ่งเน้นให้อำเภอ/กิ่งอำเภอ เป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการในพื้นที่ที่เป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยมีหน่วยที่วัดผลได้เป็นรูปธรรม คือ อำเภอ/กิ่งอำเภอ มีข้อมูลผลสำเร็จ การแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการในศูนย์ปฏิบัติการฯ ไม่น้อยกว่าศูนย์ละ 1 เรื่อง และเพื่อให้เป้าหมายบรรลุผล ได้จัดให้มีกิจกรรมกระบวนการจัดการความรู้ (KM Process) และกิจกรรมกระบวนการเปลี่ยนแปลง (Change Management Process) ควบคู่กันไป โดยมีความคาดหวังว่าแผนการจัดการความรู้นี้จะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญสู่การปฏิบัติราชการในขอบเขต KM และเป้าหมาย KM ในเรื่องอื่น ๆ และนำไปสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน ต่อไป